• หน้าแรก
  • รุ่นรถยนต์/อีวี
  • รุ่นจักรยานยนต์
  • รุ่นรถแทรกเตอร์
  • รถเกี่ยวข้าว/Smart Farm
  • เครื่องยนต์อเนกประสงค์
  • ค้นหาผู้จำหน่าย
  • กระดานซื้อขาย/MotorShow
  • ข่าวเด่นรถยนต์Œ/รีวิวรถยนต์
  • ติดต่อโฆษณา

รีวิวรถยนต์-รถอีโคคาร์ | รีวิวรถกระบะ-รถพีพีวี | รีวิวจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ | ข่าวรถแทรกเตอร์

โปรโมชั่น รถยนต์-รถกระบะ | โปรโมชั่น รถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ | โปรโมชั่น รถแทรกเตอร์

เทคโนฯอีวีดัดแปลง ปูทางสู่ฮับยานยนต์ไฟฟ้า

 



ขอบคุณข้อมูล กรุงเทพธุรกิจ (29 พ.ย. 2018) [1160 Views]

“i-EV” รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงนิสสันอัลมีร่า วิ่งได้ 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ผลงานสวทช. เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมพิมพ์เขียวให้อู่รถยนต์และบริษัทรถยนต์นำไปขยายผลเชิงพาณิชย์

“i-EV” รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงยี่ห้อ Nissan Almera วิ่งได้ 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ผลงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมพิมพ์เขียวให้อู่รถยนต์และบริษัทรถยนต์นำไปขยายผลเชิงพาณิชย์

โครงการวิจัยพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือการดัดแปลง โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อุดหนุนงบ 25 ล้านบาท และ จาก สวทช.อีก 35 ล้านบาท มุ่งพัฒนาชุดอุปกรณ์ดัดแปลงรถยนต์เก่าที่ใช้งานมานานแล้วให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในราคาไม่เกิน 2 แสนบาท (ไม่รวมแบตเตอรี่) ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้านำเข้าราคา 3-4 ล้านบาท

เปลี่ยนรถเก่าให้เป็นมิตร

วิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ตามที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเข้ามามีบทบาทในอนาคต เพราะเป็นยานยนต์ที่ปล่อยมลภาวะต่ำ ประกอบกับแนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะลดลง อีกทั้งรถที่ผ่านการใช้งานมานานแล้วอาจจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กฟผ. จึงมุ่งมั่นผลักดันโครงการวิจัยรถไฟฟ้าดัดแปลงให้สำเร็จ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าใช้เองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้คนไทยมีโอกาสเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อรับกับนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค

ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ความร่วมมือกับ กฟผ.ในเฟสแรกประสบผลสำเร็จในการใช้ชุดอุปกรณ์ดัดแปลง ซึ่งถูกพัฒนาต้นแบบและกำหนดค่าอัตโนมัติต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้สามารถดัดแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง โดยนำร่องเปลี่ยนฮอนด้าแจ๊สเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงและสามารถนำมาใช้งานได้จริง

ส่วนนิสสันอัลมีร่า 1200 ซีซี เป็นรถต้นแบบเฟส 2 ที่จะนำไปต่อยอดให้เกิดศูนย์บริการดัดแปลงรถไฟฟ้า โดยกลางปีหน้า กฟผ.จะเปิดคอร์สถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมพิมพ์เขียวให้บริษัทรถยนต์และอู่รถที่สนใจให้มีระดับราคาที่ประชาชนเป็นเจ้าของได้

ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลค่าพลังงาน พบว่า รถเชื้อเพลิงน้ำมันมีค่าใช้จ่าย 1 บาทต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ส่วนรถพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 60 สตางค์ ใช้เวลาชาร์จ 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดโครงการในเฟส 3 จะสามารถอัดประจุแบบเร็วหรือใช้เวลาชาร์จเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ในระยะทางประมาณ 150 - 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง (ด้วยการวิ่งความเร็วเฉลี่ย 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าคือ การสึกหรอของเครื่องยนต์ลดลงเพราะไม่ใช้น้ำมัน ทำให้ประหยัดในการซ่อมบำรุง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนจะคุ้มทุนภายในกี่ปีขึ้นอยู่กับประเภทแบตเตอรี่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาแบตเตอรี่ในปี 2563 จะลดลงเหลือไม่เกิน 2 แสนบาทจากปัจจุบันที่ราคา 5 แสนบาท

“ขณะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของยานยนต์ไฟฟ้า แต่เมื่อไรที่ราคาแบตเตอรี่ลดลง โอกาสที่จะได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการมีมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมเทคโนโลยีให้พร้อมกับตลาดในอนาคต เหมือนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค”

ตั้งเป้า 3 ปีฮับยานยนต์ไฟฟ้า

ณรงค์ กล่าวอีกว่า แนวคิดการดัดแปลงรถยนต์ใช้น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศมีบ้าง อาทิ สเปน สหรัฐอเมริกา แต่ราคาแพงกว่าไทยหรือประมาณหลักล้านบาทต่อคัน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ขณะที่เยอรมนีไม่ยอมรับรถดัดปลงฯ เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์ป้อนตลาดโลก จึงมีความพยายามกีดกันจากค่ายรถ

“เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย บริษัทผู้ผลิตที่เกิดใหม่ไม่ได้มาจากเมืองดีทรอยต์ ซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก แต่มาจากซิลิคอนวัลเลย์ เพราะเทคโนโลยีทุกอย่างมาแล้วเพียงแต่ไม่ได้มาในเซกเตอร์ของรถยนต์”

โครงการพัฒนาชุดดัดแปลงนี้จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้รถกับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งได้องค์ความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น การเตรียมทักษะความพร้อมและเทคโนโลยีให้กับอู่รถที่จะปรับตัวรับการมาของรถยนต์ไฟฟ้า ส่วนชุดอุปกรณ์ดัดแปลงฯ ( EV conversion Kit) จะมีผลต่อตลาดและอุตสาหกรรมในอนาคตอย่างต่อเนื่องจากองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมา คาดภายใน 3 ปี ไทยจะเป็นผู้นำด้านนี้และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศและลดมลภาวะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ความคิดเห็นผ่าน Facebook



ข่าวน่าสนใจ Hot News
ปตท.-ฟ็อกซ์คอนน์ จับมือปั้นไทยฮับผลิต EV
นิสสัน เสริมตลาดปิกอัพ "นาวารา ซิงเกิล แค็บ"
ไทรอัมพ์ฯ เผย 5โมเดลใหม่ล่าสุด บอนเนวิลล์ 2021
ดูคาติ ตัวแทนใหม่ “โมโตเร อิตาเลียโน่” เปิดโชว์รูมบนตึกอาวดี้
สยามคูโบต้า หนุนทำ Smart Farmer รับแรงงานรุ่นใหม่
ยันม่าร์ เปิดตัวรถเกี่ยวข้าว ตู้แอร์ YH1180 Cabin
เปิดตัว! จอบหมุน ฟาร์มเทค พรีเดเตอร์ แกร่ง แรง เร็ว







หมวดยานยนต์-แทรกเตอร์ โปรโมชั่น-ข่าวเด่น-รีวิว 108เอ็นจินดอทคอม
รถอีวี /รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โปรโมชั่นรถยนต์ /รถแทรกเตอร์ /จักรยานยนต์ หน้าแรก108engine.com
รถอีโคคาร์ ข่าวรถยนต์-รถไฟฟ้า ข้อตกลงการใช้งาน
รถกระบะ-รถอเนกประสงค์ ข่าวรถแทรกเตอร์-SMART FARM นโยบายความเป็นส่วนตัว
รถแทรกเตอร์ ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ ติดต่อโฆษณา Advertise With Us
รถเกี่ยวนวดข้าว MOTOR SHOW / TRACTOR SHOW ติดต่อเรา Contact Us
รถจักรยานยนต์ ทัวร์ร้านค้ายานยนต์ทั่วไทย  
รถบิ๊กไบค์ รีวิว รถยนต์-รถอีวี  
เครื่องยนต์อเนกประสงค์ รีวิว รถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์  
Follow us
   
Copyright © 2000 - 2024  108Engine Dot Com All Rights Reserved
 
cheap air max|cheap air jordans|pompy wtryskowe|cheap huarache shoes| bombas inyeccion|cheap jordans|cheap sneakers|wholesale jordans|cheap china jordans|cheap wholesale jordans|cheap jordans|wholesale jewelry china