|
ขอบคุณเนื้อหา ประชาชาติธุรกิจ (20 เม.ย. 2020) [2227 Views]
|
ปัจจุบันจีนมีทิศทางการส่งออกรถยนต์และเข้าไปลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่ได้รับการตอบรับที่ดี
การรุกตลาดนอกประเทศของจีนส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของผู้ผลิตไทยบ้างทั้งออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมการรับมือด้วยการเร่งดึงดูดการลงทุนจากจีนตั้งแต่ขณะนี้เราอาจจะพลาดโอกาสสำคัญ และความน่าสนใจในการเร่งดึงดูดของไทยตอนนี้คงหนีไม่พ้นกลุ่มรถอีวี ซึ่งถือว่าจีนมีศักยภาพด้านนี้อย่างแท้จริง
ย้อนกลับไปดูความสามารถในการส่งออกของจีน ปี 2562 จีนสามารถส่งออกรถยนต์ได้ 1,024,823 คัน เพิ่มขึ้นจาก 755,500 คัน ในปี 2558 ใกล้เคียงกับตัวเลขส่งออกของไทยจำนวน 1,054,103 คัน แต่ตัวเลขนี้ประเทศไทยส่งออกเกินกว่าล้านคันมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว
ดังนั้น หากประเทศไทยยังปล่อยปละละเลย ไม่เตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมไว้รับมือ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และพลาดโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์ได้มากขึ้นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนสามารถ ส่งออกได้เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตลาดรวม
ปัจจุบันจีนมีทิศทางการส่งออกรถยนต์และเข้าไปลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่ได้รับการตอบรับที่ดี
การรุกตลาดนอกประเทศของจีนส่งผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของผู้ผลิตไทยบ้างทั้งออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมการรับมือด้วยการเร่งดึงดูดการลงทุนจากจีนตั้งแต่ขณะนี้เราอาจจะพลาดโอกาสสำคัญ และความน่าสนใจ ในการเร่งดึงดูดของไทยตอนนี้คงหนีไม่พ้นกลุ่มรถอีวี ซึ่งถือว่าจีนมีศักยภาพด้านนี้อย่างแท้จริง
ย้อนกลับไปดูความสามารถในการส่งออกของจีน ปี 2562 จีนสามารถส่งออกรถยนต์ได้ 1,024,823 คัน เพิ่มขึ้นจาก 755,500 คัน ในปี 2558 ใกล้เคียงกับตัวเลขส่งออกของไทยจำนวน 1,054,103 คัน แต่ตัวเลขนี้ประเทศไทยส่งออกเกินกว่าล้านคันมาตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว
ดังนั้น หากประเทศไทยยังปล่อยปละละเลย ไม่เตรียมกลยุทธ์ที่เหมาะสมไว้รับมือ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และพลาดโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์ได้มากขึ้นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนสามารถส่งออก ได้เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตลาดรวม
โดยสรุป หลังผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การกลับมาเร่งรุกตลาดของค่ายรถยนต์จีนที่เพิ่มขึ้นทั้งในมุมของการส่งออก และการไปลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศต่าง ๆ ต่อเนื่องจากที่ทำมาตลอดช่วงที่ผ่านมา อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนภูมิทัศน์การแข่งขัน ในตลาดส่งออกรถยนต์ของไทยอีกระยะข้างหน้า
เมื่อรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเป็นค่ายหลักของไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดส่งออก หลักหลายแห่งของไทยจากการเข้ามา ตีตลาดของรถยนต์สัญชาติจีน โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ที่จีนมุ่งพัฒนา ซึ่งหากจีนยังคงผลิตมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างอีโคโนมีออฟสเกล ถึงจุดหนึ่งที่เกินความต้องการในประเทศ ก็มีความเป็นไปได้ที่รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนอาจต้องส่งออกมายังตลาดต่างประเทศมากขึ้น
ดังนั้น หากต้องการลดผลกระทบจากการแผ่ขยายตลาดส่งออกรถยนต์ของจีน อาจเป็นการพิจารณาร่วมสร้างเครือข่ายพันธมิตร ในการผลิตรถยนต์กับจีน โดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไทยมีโอกาสจะเสียผลประโยชน์ได้
จากการที่จีนสามารถนำเข้ารถยนต์เข้ามาไทยได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าภายใต้ข้อตกลง FTA ที่ทำร่วมกันกับจีน และยังรวมไปถึงโอกาสที่จีนจะส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าโดยตรงไปยังประเทศอื่น ๆ ที่มีการทำ FTA ด้วยในลักษณะเดียวกันกับไทย
โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนและโอเชียเนีย ส่วนการปกป้องฐานตลาดส่งออกอื่น ซึ่งก็เริ่มเห็นทิศทางของการขยายตัวของการส่งออก รถยนต์และการเข้าไปลงทุนผลิตจากจีนเช่นเดียวกันแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มทวีปยุโรป อเมริกาใต้ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลางไทยอาจพิจารณาเร่งสร้างความตกลง การค้าเสรีร่วมกันกับประเทศ เหล่านั้น เพื่อหาโอกาสทั้งสำหรับการดึงดูดการลงทุนเข้าไทยและการส่งออกรถยนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ มากขึ้น
|