|
ขอบคุณ MGR Online (15 มิ.ย. 2020) [3242 Views]
|
การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อทุกอุตสาหกรรมซึ่งก็รวมถึงรถยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มที่สอดคล้องกันทุกแบรนด์ นั่นคือ ยอดขายลดลงและไม่สามารถทำการผลิตรถยนต์ได้ ซึ่งที่ตามมาคือ ความจำเป็นที่จะต้องปรับแนวทางในการดำเนินการขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องและอยู่รอดในบริบทใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม และแน่นอนว่าข่าวการปลดคนงานและปิดสายพานการผลิตถือเป็นเรื่องปกติที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับนิสสันที่ผ่านมาการปรับตัวเพื่ออยู่รอดในสภาพที่เกิดขึ้นถือว่าไม่ต่างจากทุกแบรนด์ในแง่ของรูปแบบของการดำเนินการ ในเมื่อโรงงานไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ และปริมาณยอดซื้อของรถยนต์ทั่วโลกหดตัวชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ดังนั้นโรงงานหลายแห่งทั่วโลกของพวกเขาจำเป็นต้องยุติการผลิตอย่างไม่มีกำหนด เช่นเดียวกับการย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ การย้ายฐานการผลิตรถยนต์จากอินโดนีเซียมาที่ประเทศไทย
เราพิจารณาอย่างดีแล้วถึงเรื่องการปิดโรงงานที่อินโดนีเซีย มาโคโตะ อูชิดะ ซีอีโอของนิสสัน กล่าว การผลิตรถยนต์สำหรับภูมิภาคนี้จะอยู่ที่ประเทศไทย สำหรับตลาดยุโรปตะวันตก เราจะยังคงการผลิตที่โรงงานในซันเดอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษเอาไว้เพราะผลิตรถยนต์รุ่นหลักๆ ของเราในตลาดแห่งนี้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่ซันเดอร์แลนด์ซึ่งมีคนงานอยู่ราวๆ 6,000 คนและมีกำลังการผลิตรถยนต์ต่อปีอยู่ที่ 440,000 คัน เพราะนิสสันเผยถึงความต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อโรงงานเริ่มกลับมาทำงานอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้ หรือมีนัยยะหมายถึงการลดขนาดลงเพื่อให้ค่าใช้จ่ายลงตามแผนหลัก ที่คาดว่าจะต้องลดต้นทุนลงถึง 2.3 พันล้านยูโร
ตรงนี้ทำให้เกิดข่าวร้ายสำหรับชาวบาร์เซโลน่า เพราะนิสสันสั่งปิดโรงงานที่นี่เป็นแห่งต่อมาและทำให้คนงานราว 3,000 คนต้องตกงาน หรือมากถึง 20,000 คนถ้ารวมทั้งระบบการผลิตในส่วนของชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์ที่จะต้องส่งให้กับ นิสสันจนนำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ โดยการปิดโรงงานที่สเปนทำให้นิสสันไม่เหลือสายการผลิตที่อยู่ในประเทศในกลุ่ม EU เลย อีกทั้งยังมีการประเมินอีกว่า การสั่งปิดและย้ายฐานการผลิตน่าจะมีขึ้นอีกหลังจากนั้น หากพวกเขาต้องเดินหน้าตามแผนการลดต้นทุนให้สอดคล้องกับตัวเลขที่ต้องการ
ทั้งหมดเป็นผลกระทบมาจากโควิด-19 ที่ทำให้ตลาดรถยนต์ทั่วโลกของนิสสัน ลดลงถึง 62% ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยมียอดขายเพียงแค่ 150,388 คันเท่านั้น (ขณะที่ตลาดรถยนต์ทั่วโลกลดลง 42%) อีกทั้งจากการเปิดเผยผลประกอบการในรอบปีธุรกิจที่ผ่านมา นิสสันต้องประสบปัญหาขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปีด้วยตัวเลขขาดทุนมากกว่า 40.5 พันล้านเยนหรือราวๆ 5.6 พันล้านยูโร ทำให้พวกเขาจำเป็นต้องปรับตัวใหม่ทั้งในเรื่องขององค์กรและกำลังการผลิตทั่วโลก
แล้วจะต้องเดินหน้าไปอย่างไร ?
นอกจากการประกาศปิดโรงงาน 2 แห่งแล้ว นิสสันเองก็ยังได้เปิดเผยแผนฟื้นฟูที่จะต้องลดต้นทุนตลอดช่วง 4 ปีนับจากนี้ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน และความสามารถในการสร้างผลกำไร ภายในสิ้นปีงบประมาณปี 2023 โดยแผนปฏิรูปการดำเนินธุรกิจนี้ยังครอบคลุมถึงการจัดการต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรจากเดิมที่ให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจมากจนเกินไป
ภายใต้แผนระยะ 4 ปีนี้ นิสสันตัดสินใจที่จะปฏิรูปการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยลดธุรกิจที่ไม่ทำกำไรและโรงงานที่เกินความจำเป็นลงควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมลดต้นทุนคงที่โดยพิจารณากำลังการผลิตรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ที่จำหน่ายอยู่ทั่วโลกและรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆภายใต้การบริหารจัดการอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมุ่งให้ความสำคัญและลงทุนในธุรกิจที่จะช่วยให้ฟื้นฟูองค์กรให้สร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืนเท่านั้น
นิสสันคาดการณ์ว่าการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว จะช่วยให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรจากผลการดำเนินงานที่ 5 % และมีสัดส่วนทางการตลาดทั่วโลกคิดเป็น 6 % เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณปี 2023 ซึ่งรวมถึงสัดส่วนรายได้ที่มาจากการร่วมลงทุน 50 % ในประเทศจีน
แผนปฏิรูปของเรามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคง แทนที่จะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มยอดขายมากจนเกินไป โดยนิสสันจะมุ่งเน้นเรื่องความสามารถหลักขององค์กร พร้อมยกระดับคุณภาพทางธุรกิจ และรักษาระเบียบวินัยทางการเงิน รวมถึงรายได้สุทธิต่อหน่วยเพื่อสร้างผลกำไรตามเป้าที่วางไว้ โดยทั้งหมดนี้จะมีการดำเนินงานควบคู่ไปกับการรื้อฟื้นวัฒนธรรม ความเป็นนิสสัน เพื่อเดินหน้าสู่ยุคใหม่ของนิสสันอย่างแท้จริง มาโคโตะ อูชิดะ กล่าว
แผนระยะ 4 ปีของนิสสัน วางอยู่บนกลยุทธ์ 2 ด้าน ที่ คือ การให้ความสำคัญกับตลาดหลักและรถยนต์รุ่นสำคัญ ส่วนอีกข้อหนึ่งคือ กระบวนการทำให้เกิดประสิทธิภาพ แนวทางปฏิบัติเพื่อปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ดูรายละเอียดล้อมกรอบ)
นิสสัน Ariya SUV พลังไฟฟ้ามาแน่ตามแผนการฟื้นฟูครั้งนี้
นิสสันคาดการณ์ว่าการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว จะช่วยให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรจากผลการดำเนินงานที่ 5 % และมีสัดส่วนทางการตลาดทั่วโลกคิดเป็น 6 % เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณปี 2023 ซึ่งรวมถึงสัดส่วนรายได้ที่มาจากการร่วมลงทุน 50 % ในประเทศจีน
แผนปฏิรูปของเรามีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคง แทนที่จะให้ความสำคัญต่อการเพิ่มยอดขายมากจนเกินไป โดยนิสสันจะมุ่งเน้นเรื่องความสามารถหลักขององค์กร พร้อมยกระดับคุณภาพทางธุรกิจ และรักษาระเบียบวินัยทางการเงิน รวมถึงรายได้สุทธิต่อหน่วยเพื่อสร้างผลกำไรตามเป้าที่วางไว้ โดยทั้งหมดนี้จะมีการดำเนินงานควบคู่ไปกับการรื้อฟื้นวัฒนธรรม ความเป็นนิสสัน เพื่อเดินหน้าสู่ยุคใหม่ของนิสสันอย่างแท้จริง มาโคโตะ อูชิดะ กล่าว
แผนระยะ 4 ปีของนิสสัน วางอยู่บนกลยุทธ์ 2 ด้าน ที่ คือ การให้ความสำคัญกับตลาดหลักและรถยนต์รุ่นสำคัญ ส่วนอีกข้อหนึ่งคือ กระบวนการทำให้เกิดประสิทธิภาพ แนวทางปฏิบัติเพื่อปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ดูรายละเอียดล้อมกรอบ)
บทบาทของไทยในอาเซียน
จริงๆ แล้วถือว่าไม่มีอะไรน่าแปลกใจเมื่อมองดูจากไลน์อัพรถยนต์ที่วางขายอยู่ในประเทศต่างๆ รอบบ้านเรา เพราะส่วนใหญ่แล้วคือรถยนต์ที่ถูกผลิตจากโรงงานของนิสสันในประเทศไทยเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น March, X-Trail หรือแม้รุ่นล่าสุดที่มาพร้อมกับขุมพลัง e-Power อย่าง Kicks
ในอินโดนีเซียนั้น รถยนต์ที่ทำตลาดส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศไทย โดยที่มีแค่ Serena e-Power เท่านั้นที่มาจากญี่ปุ่น ส่วนที่ประกอบในประเทศมีเพียงรุ่นเดียวคือ Livina ซึ่งในรุ่นใหม่ที่เป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ก็แชร์พื้นฐานทางวิศวกรรมร่วมกับ มิตซูบิชิ Xpander และประกอบอยู่บนไลน์ผลิตเดียวกันที่โรงงานในเมือง Cikarang ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ในแง่ของการผลิตอีกต่อไป
จริงๆ แล้ว ข่าวการปิดโรงงานของนิสสัน ในอินโดนีเซียเริ่มมีมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2019 เมื่อมีการปิดโรงงานแรกใน Purwakarta ที่ใช้ในการผลิตรุ่น Grand Livina X-Trail Serena และ Juke โดยมีการดัดแปลงโรงงานเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องยนต์ให้กับมิตซูบิชิ ส่วนรถยนต์ที่ใช้ในการรีแบรนด์ของ Datsun เช่น Go Go+ และ Cross ก็ผลิตในโรงงานที่ 2 จนถึงเดือนมกราคม 2020 ก็มีการปิดโรงงานก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในครั้งนี้เพื่อย้ายการผลิตทั้งหมดไปที่เมืองไทย
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่กำลังจะมา
แม้ในแง่ของบริบทในปัจจุบันจะดูไม่เอื้อต่อการพูดถึงการเปิดตัวรถยนต์ใหม่ แต่เชื่อว่าตามแผนการของนิสสันแล้ว มีรถยนต์หลายรุ่นของพวกเขายังอยู่ในตารางของการเปิดตัวเหมือนเดิม และแม้ว่าในส่วนของการปรับปรุงไลน์อัพรุ่นรถยนต์ที่มีอยู่ในตลาดจะลดลง 20% (จาก 69 รุ่นเหลือ 55 รุ่น) แต่รถยนต์พลังไฟฟ้า และพวกที่ใช้เทคโนโลยี e-Power ก็ยังคงเป็นหัวใจหลักของการทำตลาด
เมื่อพิจารณาจากแผนข้างบน แน่นอนว่า ในประเทศญี่ปุ่น ที่นิสสัน วางแผนจะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 2 รุ่นก็ยังคงมีอยู่นั่นคือ ผลผลิตที่พัฒนามาจากต้นแบบที่ชื่อว่า Ariya ซึ่งเป็น SUV ในกลุ่ม C-Segment และ IMk ที่เป็นรถยนต์ในกลุ่ม Kei-Car ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า โดยทั้ง 2 รุ่นมีการเปิดตัวในงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ 2019 ขณะที่ตลาดรถสปอร์ตนั้น เชื่อว่าจะเป็นรุ่นเปลี่ยนโฉมของ Z-Car หรือ 370Z โดยจะเป็นเจนเนอเรชันที่ 7 ของตัวรถและเข้ามาแทนที่รุ่นเดิมที่อยู่ในตลาดมานานตั้งแต่ปี 2009
ส่วนอีกรุ่นที่ถูกจับตามองในช่วงนี้คือ การเผยโฉมกระบะ 1 ตันอย่าง Navara โดยจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหรือโมเดลเชนจ์ครั้งแรกในรอบ 6 ปีและถือเป็นคีย์โปรดักต์ของนิสสันในปีนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งคาดว่าหน้าตาที่ถูกปรับเปลี่ยนไปนั้นจะสอดคล้องกับปิกอัพรุ่นใหญ่ของพวกเขาอย่าง Titan ที่มีขายอยู่ในอเมริกาเหนือ พร้อมเครื่องยนต์ใหม่ 4 สูบ 2,300 ซีซี เทอร์โบคู่ที่มีกำลังอยู่ราวๆ 190 แรงม้า โดยเชื่อว่า Navara ใหม่น่าจะเปิดตัวในบ้านเราปลายปีนี้เป็นอย่างเร็ว หรืออย่างช้าไม่เกินไตรมาสแรกของปี 2021
นิสสัน Navara ใหม่ที่เตรียมเปิดตัวในปลายปีนี้
2 กลยุทธ์หลักสู่แผนฟื้นฟูกิจการ
กระบวนการทำให้เกิดประสิทธิภาพและแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับโครงสร้าง ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การให้ความสำคัญกับตลาดหลักและรถยนต์รุ่นสำคัญ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-ปรับอัตราการผลิตของนิสสันลง 20 % ให้เหลือเพียง 5.4 ล้านคันต่อปี ภายใต้การปฏิบัติงานตามช่วงเวลาการทำงานตามมาตรฐานปกติ
-เพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิตให้ได้มากกว่า 80 % เพื่อเพิ่มผลกำไร
-ลดจำนวนรุ่นรถยนต์ทั่วโลกลง 20 % (ให้เหลือเพียง 55 รุ่น จากเดิม 69 รุ่น)
-ลดต้นทุนแบบคงที่ลงประมาณ 3 แสนล้านเยน
-ยุติการดำเนินงานของโรงงาน ณ บาร์เซโลน่า ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก
-ควบรวมการผลิตของรถยนต์รุ่นสำคัญต่าง ๆ ในอเมริกาเหนือ
-ยุติการดำเนินงานของโรงงานในประเทศอินโดนีเซีย และมุ่งให้ความสำคัญกับโรงงานในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตแห่งเดียวในอาเซียน
-ร่วมมือบริษัทในกลุ่มพันธมิตรในการใช้ทรัพยากร เช่น การผลิต รุ่นรถยนต์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วมกัน
-มุ่งเน้นธุรกิจของนิสสันในประเทศญี่ปุ่น จีน และทวีปอเมริกาเหนือ
-ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของกลุ่มพันธมิตร เพื่อรักษาฐานทางธุรกิจของนิสสัน ในอเมริกาใต้ อาเซียน และยุโรป
-ยุติการการดำเนินงานในประเทศเกาหลีใต้ ยุติการดำเนินธุรกิจของดัทสันในรัสเซีย รวมถึงปรับแผนการดำเนินธุรกิจของบางประเทศในอาเซียน
-ให้ความสำคัญกับรถยนต์รุ่นหลักในกลุ่ม C และ D Segment รวมถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และรถสปอร์ต
-เดินหน้าเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ 12 รุ่น ในอีก 18 เดือนข้างหน้า
-เพิ่มจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า รวมถึง เทคโนโลยี อี-พาวเวอร์ โดยตั้งเป้าจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 1 ล้านคัน ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2023
-ในประเทศญี่ปุ่น นิสสันจะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 2 รุ่น และรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ จำนวน 4 รุ่น เพื่อเพิ่มสัดส่วนของยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ถึง 60 %ของยอดขายทั้งหมด
-นำระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ ProPILOT มาใช้ในรถยนต์มากกว่า 20 รุ่นที่วางขายใน 20 ประเทศ โดยตั้งเป้าว่าจะมีรถยนต์จำนวนกว่า 1.5 ล้านคัน ที่ใช้ระบบ ProPILOT ภายในสิ้นปี 2023
|