• หน้าแรก
  • รุ่นรถยนต์/อีวี
  • รุ่นจักรยานยนต์
  • รุ่นรถแทรกเตอร์
  • รถเกี่ยวข้าว/Smart Farm
  • เครื่องยนต์อเนกประสงค์
  • ค้นหาผู้จำหน่าย
  • กระดานซื้อขาย/MotorShow
  • ข่าวเด่นรถยนต์Œ/รีวิวรถยนต์
  • ติดต่อโฆษณา

ข่าวรถแทรกเตอร์-เกษตรอัจฉริยะ | ข่าวรถยนต์-รถอีวี | ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์

โปรโมชั่น รถแทรกเตอร์ | โปรโมชั่น รถยนต์ | โปรโมชั่น รถจักรยานยนต์


‘อีโคคาร์’เล็งเสริมพลังงานไฟฟ้า
รับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่



ขอบคุณกรุงเทพุรกิจ (1 ก.ค. 2024) [1044 Views]

ตลาดรถยนต์อีโค คาร์ เสริมศักยภาพ ปรับตัวรับมือโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่เริ่มปี 2569 ยกเลิกคำจำกัดความเฉพาะ “อีโค คาร์” หันใช้เกณฑ์ร่วมรถยนต์นั่ง ยึดค่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก คาดดึงพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้รับแต้มต่อภาษี

รถยนต์อีโค คาร์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในปี 2550 เมื่อรัฐบาลต้องการสร้างโปรดักต์ แชมเปียน ตัวใหม่ให้ต่อเนื่องจากความสำเร็จของรถปิกอัพที่เป็น โปรดักต์ แชมเปียนรุ่นแรก และดึงดูดการลงทุนที่แข่งขันกับเพื่อนบ้านที่ต้องการการลงทุนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย ที่ต้องการผุดโครงการในแนวทางเดียวกันนี้เช่นกัน

ซึ่งขณะนี้มีผู้ประกอบการที่ผลิตและทำตลาดอีโคคาร์ ประกอบด้วย โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มิตซูบิชิ มาสด้า และซูซูกิ


โดยปัจจุบัน อีโค คาร์ และตลาดรถเล็กในกลุ่ม บี-เซกเมนต์ เป็นตลาดสำคัญของตลาดรถยนต์นั่ง เนื่องจากมีระดับราคาที่ไม่สูงเกินไป ตัวรถรองรับการใช้งานได้เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นขนาดตัวถัง พื้นที่ห้องโดยสาร สมรรถนะการขับขี่ ออปชันต่างๆ

โดยช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. เฉพาะ อีโค คาร์ มียอดจดทะเบียนรวมกัน 5.44 หมื่นคัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 53% ในตลาดรถยนต์นั่ง บ่งบอกถึงความสำคัญและความนิยมในตลาดนี้

สำรวจผลกระทบ อีวี

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือ อีวี จำนวนมาก โดยที่หลายรุ่นมีระดับราคาที่ใกล้เคียงกับ อีโค คาร์ รวมถึงยังมีเกมสงครามราคา และเมื่อรวมกับสถานการณ์ล่าสุดที่ซูซูกิ ประกาศยุติการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยสิ้นปี 2568 ทำให้ อีโค คาร์ ถูกจับตามองมากยิ่งขึ้นว่าเป็นตลาดที่ได้รับผลกระทบจาก อีวี โดยเฉพาะอีวีราคาต่ำจากจีน ที่ได้สิทธิประโยชน์ไม่เสียภาษีนำเข้าจากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน

ทั้งนี้ เพราะ ซูซูกิ ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดประเทศไทยก็จากแรงจูงใจของโครงการ อีโค คาร์ โดยตั้งบริษัทในปี 2553 จากนั้น โรงงานที่ลงทุนก็เปิดสายการผลิตในปี 2554 นับรวมถึงปีหน้าที่จะยุติสายการผลิตรวม 14 ปี และมีการผลิตอีโค คาร์ มากถึง 3 รุ่นในไทยคือ สวิฟท์ เซียส และเซเลริโอ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับซูซูกิอาจจะไม่สามารถเชื่อมโยงกับ อีวี ได้ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม เช่น ยอดขายที่ไม่สูงนัก และปัจจุบันซูซูกิมีฐานการผลิตใหญ่ๆ ใกล้ไทยหลายแห่ง เช่น อินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันก็ส่งรถมาจำหน่ายในไทยอยู่แล้ว หรือ โรงงานในอินเดียที่มีปริมาณการผลิตขนาดใหญ่ ทำให้ได้เปรียบเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย ซึ่งซูซูกิเอง ก็ให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่าจะเปลี่ยนไปนำเข้ารถเข้ามาทำตลาดแทน ทั้งจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และอินเดีย

อีโค คาร์ มาตรฐานสากล

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธาน บริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อีโค คาร์ ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากอีวีมากนัก เพราะเป็นตลาดที่มีความชัดเจน และได้รับการยอมรับในระดับสากล เพราะอีโค คาร์ ที่เกิดขึ้นจากภาครัฐกำหนดกฎเหล็กหลายข้อ ทั้งเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิงที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการที่ผู้บริโภคหลายคนตัดสินใจซื้อ อีวี

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เข้มข้น ไม่เกิน 120 กรัม/กม. สำหรับ อีโค คาร์ เฟส 1 และ ปัจจุบัน เฟส 2 ไม่เกิน 100 กรัม/กม

นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทั้งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ (active/passive safety) ทั้งการทดสอบการชน มาตรฐานความปลอดภัยต่อคนเดินเท้า ระบบเบรก หรือการมีระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว เป็นต้น

การกำหนดมาตรฐานที่เข้มข้นทำให้ อีโค คาร์ จากประเทศไทย สามารถส่งออกไปทำตลาดได้ทั่วโลก รวมถึงส่งกลับไปทำตลาดในญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งการเป็นรถที่ได้รับการยอมรับมายาวนาน เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคที่มีความจำเป็นในการใช้งานในระดับราคาที่ไม่สูงนัก

ขณะที่รถอีวีแม้จะมีจุดเด่นหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านความประหยัดพลังงาน แต่ก็มีผู้บริโภคบางส่วนที่ยังไม่พร้อมใช้งาน จากข้อกังวลทั้งด้านความสะดวกในการใช้งาน การชาร์จ รวมไปถึงราคาขายต่อในอนาคต

นั่นทำให้ที่ผ่านมา อีวี เป็นรถที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ที่มีรถใช้งานมากกว่า 1 คัน

ปรับตัวรับกระแสพลังงานไฟฟ้า-ภาษีใหม่

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบัน อีวี จะส่งผลกระทบกับอีโค คาร์ รวมถึงรถในตลาดอื่นๆ ไม่มากนัก แต่ทิศทางของโลกที่ให้ความสำคัญกับพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ก็เชื่อว่าผู้ประกอบการที่มีสินค้ากลุ่มเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ ICE ก็จะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับกระแสดังกล่าวเช่นกัน เช่น มาสด้า ที่บริษัทแม่ญี่ปุ่น มีแนวทางชัดเจนในด้านนี้เช่นกัน แต่จะไม่มุ่งไปที่ทางใดทางหนึ่ง แต่จะนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภค

นอกจากนี้ ยังมีอีกปัจจัยที่ทำให้อีโค คาร์ ต้องเตรียมความพร้อมรับมือ คือ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่ออกมาก่อนหน้านี้ เกี่ยวข้องกับรถทุกประเภท รวมถึง อีวี และอีโค คาร์

โดยในส่วนของอีโค คาร์ ซึ่งปัจจุบัน อีโค คาร์ เฟส 2 ได้สิทธิพิเศษด้านภาษีสรรพสามิตในอัตรา 12% นั้น แต่ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ จะไม่มีการจำกัดความ อีโค คาร์ โดยเฉพาะ แต่จะถูกจัดเข้าไปอยู่รวมกับกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 10 ที่นั่งแทน และใช้พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเท่ากัน ขึ้นอยู่กับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

โดยอัตราเริ่มต้นคือ รถที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 100 กรัม/กม. หากเป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี จะเสียภาษี 13% เหมือนกัน จากนั้นขยับขึ้นอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 1% ทุกๆ 2 ปี

ซึ่งอัตราภาษีในส่วนนี้แม้จะเปิดกว้างกับหลายขนาดเครื่องยนต์ แต่หากมองสถานการณ์ปัจจุบันจะเข้ากับรถ อีโค คาร์ เฟส 2 มากที่สุด เพราะปัจจุบัน อีโค คาร์ เฟส 2 เสีย ปล่อยคาร์บอนได ออกไซด์ ไม่เกิน 100 กรัม/กม. (ทำให้อยู่ในกลุ่มที่จะเสียภาษีต่ำสุด แต่ก็ยังต้องขยับขึ้นจากขณะนี้ 1%

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างภาษีใหม่ยังเปิดช่องสำหรับพลังงานใหม่ คือ หากใครที่ผ่านมาตรฐานคาร์บอนไดออกไซด์ และนำระบบไฮบริดเข้ามาใช้จะได้รับอัตราภาษีที่ลดลง เช่นตั้งแต่เดือนม.ค.2569 จะเสีย 6% (ICE 13%) ตั้งแต่เดือน ม.ค.2571 เสีย 8% (ICE 14%) ตั้งแต่เดือน ม.ค.2573 เสีย 10% (ICE 15%) เป็นต้น

ซึ่งแต้มต่อดังกล่าว เชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตที่มีความสามารถในการผลิตรถที่ไม่ไอเสียต่ำอยู่แล้ว ตัดสินใจนำระบบไฮบริดเข้ามาใช้

และยังได้รับแรงหนุนทิศทางความสนใจของผู้บริโภคที่พบว่าปัจจุบันเทรนด์ของไฮบริดกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะให้ความประหยัดเชื้อเพลิงสู้อีวี ไม่ได้ แต่ก็มีเรื่องของความสะดวกในการใช้งานที่มากกว่าเข้ามาหักล้าง

ไฮบริดทางเลือกที่มีศักยภาพ

นายพงษ์ศักดิ์ เลิศฤดูวัฒนวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีรถจำหน่ายในตลาดครอบคลุมทั้ง เครื่องยนต์สันดาปภายใน ไฮบริด และ อีวี ที่มีหลายรุ่นหลายเซกเมนต์ เช่น เอ็มจี อีพี, เอ็มจี อีเอส, เอ็มจี แซดเอส อีวี, เอ็มจี4 อีเลคทริค, เอ็มจี 4 เอ็กซ์พาวเวอร์, เอ็มจี แม็กซัส9, เอ็มจี แม็กซัส 7 และ เอ็มจี ไซเบอร์สเตอร์ แต่ เอ็มจีก็เห็นว่าตลาดประเทศไทยยังเปิดกว้างสำหรับหลายเทคโนโลยี รวมถึงไฮบริด

“พลังงานไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเป็นสี่เสาหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือ CASE คือ Connect, Autonomous, Shared และ Electric แต่ไม่ได้หมายถึงต้องเป็น อีวี 100% ทั้งหมด แต่เทคโนโลยีอย่างไฮบริดก็จะได้รับความสนใจเช่นกัน”

และหากมองถึงทิศทางในอนาคต ทั้งกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้น กระแสด้านสิ่งแวดล้อม และกระแสความนิยมของผู้บริโภค ทำให้หลายๆ ตลาดจะนำเทคโนโลยีไฟฟ้าเข้ามาใช้กับรถ รวมถึงรถขนาดเล็กด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอีวี หรือ ไฮบริดก็ตาม

ทั้งนี้ในส่วนของเอ็มจี ก็เตรียมเปิดตัวรถไฮบริดรุ่นเล็ก อย่าง เอ็มจี 3 โฉมใหม่ เร็วๆ นี้




ความคิดเห็น



ข่าวน่าสนใจ Hot News
เปิดตัว Suzuki eVitara ไฟฟ้า
พื้นฐาน Toyota bZ ถัดไป
ฮอนด้า ผงาดเปิดโรงงานรถ
EV แห่งแรกในประเทศจีน
โตชิบาXเนเจอร์นิกซ์ นำร่องปล่อยเช่า
แบตเตอรี่มอเตอร์ไซด์วิน EV
เอไอออเนกซ์-แอ๊พซินท์ ร่วมเปิดแพลตฟอร์ม ขายมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ยันม่าร์ ฉลอง 45 ปี "YANMAR SHOW FEST 2024"
ดีป้า-ดีอี เปิดมหกรรมแข่งขันโดรนเกษตร
เปิดตัว! จอบหมุน ฟาร์มเทค พรีเดเตอร์ แกร่ง แรง เร็ว









หมวดยานยนต์-แทรกเตอร์ โปรโมชั่น-ข่าวเด่น-รีวิว 108เอ็นจินดอทคอม
รถอีวี /รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โปรโมชั่นรถยนต์ /รถแทรกเตอร์ /จักรยานยนต์ หน้าแรก108engine.com
รถอีโคคาร์ ข่าวรถยนต์-รถไฟฟ้า ข้อตกลงการใช้งาน
รถกระบะ-รถอเนกประสงค์ ข่าวรถแทรกเตอร์-SMART FARM นโยบายความเป็นส่วนตัว
รถแทรกเตอร์ ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ ติดต่อโฆษณา Advertise With Us
รถเกี่ยวนวดข้าว MOTOR SHOW / TRACTOR SHOW ติดต่อเรา Contact Us
รถจักรยานยนต์ ทัวร์ร้านค้ายานยนต์ทั่วไทย  
รถบิ๊กไบค์ รีวิว รถยนต์-รถอีวี  
เครื่องยนต์อเนกประสงค์ รีวิว รถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์  
Follow us
   
Where you can buy Louis Vuitton imitazioni Louis Vuitton taschen replica:

High Quality Replica Handbags Fake Louis Vuitton Bags Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton bags Replica Fake Louis Vuitton Bags Louis Vuitton bags Replica Fake Louis Vuitton Bags Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica Fake Jewelry Online Louis Vuitton Handbags Replica High Quality Replica Handbags Fake Louis Vuitton Bags High Quality Replica Handbags Fake Louis Vuitton Bags Fake Jewelry Online High Quality Replica Handbags High Quality Replica Handbags Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica Fake Jewelry Online Fake Louis Vuitton Bags Louis Vuitton Handbags Replica Fake Jewelry Online Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica Fake Louis Vuitton Bags High Quality Replica Handbags Handbags Replica Fake Jewelry Online Fake Jewelry Online Fake Louis Vuitton Bags Fake Louis Vuitton Bags High Quality Replica Handbags Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica Fake Jewelry Online Louis Vuitton Handbags Replica Fake Jewelry Online High Quality Replica Handbags High Quality Replica Handbags Louis Vuitton Handbags Replica Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica High Quality Replica Handbags High Quality Replica Handbags Louis Vuitton Handbags Replica Louis Vuitton Handbags Replica High Quality Replica Handbags

Copyright © 2000 - 2025  108Engine Dot Com All Rights Reserved
 
cheap air max|cheap air jordans|pompy wtryskowe|cheap huarache shoes| bombas inyeccion|cheap jordans|cheap sneakers|wholesale jordans|cheap china jordans|cheap wholesale jordans|cheap jordans|wholesale jewelry china