รถไฟฟ้า EV หรือ Electric Vehicle เพิ่งจะมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายขึ้นเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา และยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ส่วนใหญ่คงเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า EV เป็นยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
ทั้งนี้ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศจึงเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อเกื้อหนุนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทำให้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเห็น รถยนต์ไฟฟ้า วิ่งตามท้องถนนในเร็ววัน
รถไฟฟ้า สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด หรือ (HEV, Hybrid electric vehicle)
รถยนต์ไฮบริด เป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบบลูกผสม (Hybrid) มีทั้งเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่ จึงมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงต่ำกว่ายานยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือหรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า
2.ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle)
เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HEV ซึ่งมีการทำงานทั้ง 2 ระบบ (น้ำมันและไฟฟ้า) แต่เพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟขึ้นมา (plug-in) การอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกและนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่นั้น ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV
3.ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle)
เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว ไม่มีการปล่อยมิลพิษทางอากาศจากยานยนต์โดยตรง
4.ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle)
ไฟฟ้าที่มีเซลล์เชื้อเพลิง เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานมาจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก มีความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เชื่อว่าเป็นคำตอบที่แท้จริงของพลังงานสะอาดในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) มีน้อยมาก เหมือนที่รถ BEV มี Charging Station ที่น้อยเมื่อหลายปีก่อน
ถึงแม้ EV ทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่ทุกประเภทล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ มุ่งลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน
อี-พาวเวอร์ เทคโนโลยี โดยนิสสัน
ขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ อี-พาวเวอร์ ประกอบด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator), อินเวอร์เตอร์ (Inverter), และ มอเตอร์ไฟฟ้า โดยรถยนต์จะถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่ง มาให้กับมอเตอร์ไฟฟ้านั้น จะถูกเก็บอยู่ในแบตเตอรี่กำลังสูง โดยที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในขนาดกะทัดรัด ในทำหน้าที่ในการสร้าง กระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บอยู่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยกระแสไฟฟ้าที่ถูกใช้งานไป
ด้วยแนวคิดและการออกแบบที่ล้ำหน้าของทีมวิจัยและพัฒนาของนิสสัน ภายใต้ ระบบอี-พาวเวอร์ เครื่องยนต์สันดาปภายในจะไม่เชื่อมต่อเข้ากับชุดส่งกำลังหรือเกียร์โดยตรง แต่จะทำงานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าและชาร์จเข้ามาเก็บในแบตเตอรี ก่อนที่กระแสไฟฟ้านี้จะถูกส่งไปสู่มอเตอร์ไฟฟ้า ในการสร้างกำลังเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนตัวรถ ระบบ อี-พาวเวอร์ มีความโดดเด่นกว่าเมื่อเปรียบเทียบ กับระบบไฮบริดแบบดั้งเดิม ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กเชื่อมต่อเข้ากับ เครื่องยนต์สันดาปภายในเพื่อขับเคลื่อน ผ่านระบบส่งกำลัง เพราะในระบบไฮบริดทั่วไปมอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่ทำงาน ในภาวะที่แบตเตอรีมีกำลังไฟฟ้าต่ำหรือขณะอยู่ในย่านความเร็วสูง และขณะเดียวกัน ระบบ อี-พาวเวอร์ยังแตกต่างกับรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับพลังงานไฟฟ้ามาจากชาร์จแบตเตอรีเพียงอย่างเดียวอีกด้วย
e-Power = ไฮบริด ซีรี่ส์
ทำความเข้าใจกับพื้นฐานของเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันก่อนว่า รถที่ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวเนื่องในการขับเคลื่อนจะเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า EV หรือ Electric Vehicles และจะมีการจำแนกตามแหล่งพลังงานที่มาใช้งานซึ่งใหญ่ๆ จะมีด้วยการทั้งสิ้น 4 แบบ ได้แก่ BEV, HEV, PHEVและ FCEV (ดูตารางประกอบ) หลายท่านน่าจะทราบอยู่บ้างแล้ว จึงขอรวบรัดตัดความเข้าประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
สำหรับ HEV หรือ ไฮบริด มีการแยกย่อย ออกเป็น 3 แบบหลักคือ แบบซีรี่ส์, แบบขนาน และแบบผสมซีรี่ส์กับขนาน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แบบซีรี่ส์ จะเป็นการใช้เครื่องยนต์มาปั่นกระแสไฟเพียงอย่างเดียว ส่วนแบบขนานทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์จะขับเคลื่อนร่วมกัน และ แบบผสม เครื่องยนต์จะทำ 2 หน้าที่คือ ขับเคลื่อนและปั่นกระแสไฟให้กับมอเตอร์ (ดูตารางรูปแบบระบบไฮบริดประกอบ)
ดังนี้แล้วในเชิงวิชาการ นิสสัน คิกส์ อี-พาวเวอร์ จะต้องจัดอยู่ในประเภทใด? คำตอบคือ HEV หรือ รถไฮบริดแบบซีรี่ส์ ซึ่งคำตอบนี้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของภาครัฐที่อนุมัติแผนส่งเสริมการลงทุนให้กับนิสสันด้วย และมีการระบุใน อีโค สติกเกอร์ ว่าเป็น รถประเภทไฮบริด
ภาพแสดงระบบการทำงานของ e-Power จาก นิสสัน
ที่มา :
- http://www.evat.or.th/15708266/ev-technology
-https://www.nissan.co.th/news/nissan-e-power.html
|