• หน้าแรก
  • รุ่นรถยนต์/อีวี
  • รุ่นจักรยานยนต์
  • รุ่นรถแทรกเตอร์
  • รถเกี่ยวข้าว/Smart Farm
  • เครื่องยนต์อเนกประสงค์
  • ค้นหาผู้จำหน่าย
  • กระดานซื้อขาย/MotorShow
  • ข่าวเด่นรถยนต์Œ/รีวิวรถยนต์
  • ติดต่อโฆษณา

ข่าวรถแทรกเตอร์-เกษตรอัจฉริยะ | ข่าวรถยนต์-รถอีวี | ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์

โปรโมชั่น รถแทรกเตอร์ | โปรโมชั่น รถยนต์ | โปรโมชั่น รถจักรยานยนต์

โดรน-หุ่นยนต์ ตอบโจทย์สมาร์ทฟาร์มรับมือวิกฤติโลก


“แม็ค กฤตธัช สาทรานนท์”


ไทยรัฐออนไลน์ (1 ส.ค. 2021) [2839 Views]

โควิด-19 เปลี่ยนทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน และยังทำให้โลกการเกษตรต้องคิดเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในแบบที่เรียกกันว่า สมาร์ทฟาร์ม หรือเกษตรอัจฉริยะ โดยตอนนี้มีโดรนและหุ่นยนต์ ที่มาแรงและเป็นที่นิยมทั่วโลก ไม่เพียงเพื่อสู่วิกฤติโรคระบาด แต่ยังช่วยทุ่นแรงและเพิ่มปริมาณอาหารรองรับคนทั้งโลกในอนาคต

อย่างเช่นกรณีที่เกิดขึ้นกับหนุ่มคนหนึ่งตกงานเพราะโควิด-19 พ่นพิษ โรงงานปิดเลิกจ้างพนักงาน ทางเลือกที่เหลือคือ ออกจากกรุงเทพฯ แล้วกลับบ้านเกิด จนมีโอกาสสังเกตเห็นพื้นที่เกษตรในชุมชนที่ยังทำแบบเดิม โดยอาศัยแรงคนเป็นหลัก จึงอาศัยความรู้ที่มี คิดสร้างอาชีพใหม่ให้กับตัวเอง ด้วยการรับจ้างพ่นยาฆ่าแมลง วัชพืชให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านของตัวเอง

กรณีนี้เป็นเพียงแค่สิ่งประดิษฐ์พื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน และเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งนับเป็นหนึ่ง ในประเภทลูกค้าที่มาซื้อโดรนเพื่อสร้างอาชีพใหม่ในยุคโควิด-19 ที่ “แม็ค กฤตธัช สาทรานนท์” เจ้าของบริษัท โนวี่ (2018) ยืนยันว่า ตอนนี้มีผลิตภัณฑ์หลักที่ขายดีมากในปัจจุบันคือ “โดรนเพื่อการเกษตร” ที่จำหน่ายให้คนทั่วไป นอกเหนือ จากก่อนหน้านี้ธุรกิจการเกษตรรายใหญ่นิยมใช้อยู่แล้ว โดยส่วนที่แตกต่างกันคือ ธุรกิจขนาดใหญ่จะเพิ่มเติม เทคโนโลยีล้ำสมัยมากขึ้น ด้วยการซื้อซอฟต์แวร์เพื่อช่วยประมวลผล ช่วยวิเคราะห์ภาพที่ถ่ายจากโดรน เพื่อนำมาพัฒนาแปลง เกษตร ให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงรายได้เพิ่ม และต้นทุนไม่สูง

(แม็ค กฤตธัช สาทรานนท์ ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ปัจจุบันสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัวในแต่ละปี)



“สำหรับเกษตรกรทั่วไป ตอนนี้คนสนใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่แล้ว ที่ตอนนั้นส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าจะช่วยได้ เพราะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์และทุ่นแรงให้เกษตรกรได้จริง เปรียบเทียบ เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการพ่น กินเวลาไม่กี่นาทีต่อไร่ ไม่ต้องผสมน้ำปริมาณมากกับน้ำยา ขณะเดียวกันเกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยี เล่นมือถือ ดูยูทูบกันมากขึ้น ก็เริ่มเห็นถึงประโยชน์นี้”

หลายคนสนใจ แต่อาจยังไม่ลงทุนซื้อโดรนด้วยตัวเอง เพราะราคาค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยกว่า 1 แสนบาท จึงใช้วิธีจ้างคนใช้โดรน มาให้บริการแทน จนถึงตอนนี้สามารถสร้างอาชีพใหม่ในกลุ่มนี้ได้แล้ว

อีกกระแสหนึ่งที่ชัดเจนคือ คนที่กลับท้องถิ่นชุมชนของตัวเอง เริ่มวางแผนสร้างฟาร์มเกษตรของตัวเอง ด้วยความเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ไม่ใช่แค่โดรน แต่ยังมีการคำนวณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ โดยประมวลผลและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ตั้งแต่การสังเกตลักษณะสุขภาพต้นพืช ลักษณะดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ย และการวางแผนเก็บเกี่ยวผลผลิต ผ่านภาพถ่ายที่นำไปประมวลผลกับซอฟต์แวร์ที่กำหนดไว้

คล้ายกับธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ อย่างเช่นโรงงานน้ำตาล ที่มีไร่อ้อยในเครือข่าย ที่ต้องคอยสำรวจจำนวนต้นอ้อย จากปกติใช้คนเดินนับ แต่เมื่อใช้โดรนบินสำรวจ จะช่วยประเมินผลได้แม่นยำมากขึ้น หากโรงงานผลิตพบว่าจำนวนอ้อย ไม่เพียงพอ จะทำให้วางแผนได้ทันในการรับซื้อจากพื้นที่อื่นเพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการ เป็นต้น

นี่คือจุดหนึ่งในประเทศไทยกับการใช้โดรนเพื่อการเกษตร สะท้อนความพยายามของการเริ่มต้นไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์ม ตามกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเว็บไซต์ fortunebusinessinsights.com คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ความต้องการโดรนเพื่อการเกษตรทั่วโลกจะเติบโตปีหนึ่งประมาณ 18.14% คิดเป็นมูลค่า 3,697.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 แสนล้านบาทในปี 2027 และอ้างอิงถึงข้อมูลของ Dronemagazine ว่าความนิยมของโดรนเพื่อการเกษตรนี้ ยังทำให้สตาร์ทอัพหลายแห่งที่อยู่ในตลาดนี้ได้รับเงินทุนจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเมื่อสองปีที่แล้ว มีเงินกองทุนเอกชนที่ลงทุนกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 36,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันในยุคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก ยิ่งเร่งให้เกิดความต้องการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตร ประเภทหุ่นยนต์ช่วยการเกษตร ที่นิยมนำมาใช้ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวพืชผลในไร่ โดยมีการคาดการณ์ว่า ในแต่ละปีธุรกิจเทคโนโลยีหุ่นยนต์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 20% เฉพาะในเอเชีย แปซิฟิก จะมีมูลค่าสูงถึง 3,798 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว

คำตอบนี้ไม่เพียงตอบโจทย์การหาแรงงานยาก และการสู้วิกฤติในช่วงโรคระบาดเท่านั้น แต่ยังทำให้ช่วยเพิ่มปริมาณ อาหารรองรับจำนวนประชากรในโลกที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) คาดการณ์ว่า ในปี 2050 ประชากรโลกจะมีมากถึง 9,700 ล้านคน จากปัจจุบันมีอยู่กว่า 7,000 ล้านคนได้อีกด้วย



ความคิดเห็น



ข่าวน่าสนใจ Hot News
ส่อง ‘โดรนการเกษตร’ มาแรง แม้นลงทุนสูง หาคนขับยาก
“แอปพลิเคชันคันนา” บริหารแปลงเกษตร หนุนการปลูกเปียกสลับแห้ง
เปิดตัว! จอบหมุน ฟาร์มเทค พรีเดเตอร์ แกร่ง แรง เร็ว
โตโยต้า ลุยยกแผง ปิกอัพ
BEV-FCEV-Diesel Hybrid
ยานยนต์ไฟฟ้าโต 380%
รถBEV ทะลุ 76,366คัน
ยามาฮ่า ขน EV ร่วมวง
Japan Mobility Show
ไทยฮอนด้า เปิดตัว ‘New Honda Giorno+’ ราคาเริ่ม 61,900 บาท




รถเกี่ยวนวดข้าว อินเตอร์แบรนด์


รถเกี่ยวนวดข้าวไทย


ราคารถเกี่ยวนวดข้าว


รถแทรกเตอร์


ราคารถแทรกเตอร์







หมวดยานยนต์-แทรกเตอร์ โปรโมชั่น-ข่าวเด่น-รีวิว 108เอ็นจินดอทคอม
รถอีวี /รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โปรโมชั่นรถยนต์ /รถแทรกเตอร์ /จักรยานยนต์ หน้าแรก108engine.com
รถอีโคคาร์ ข่าวรถยนต์-รถไฟฟ้า ข้อตกลงการใช้งาน
รถกระบะ-รถอเนกประสงค์ ข่าวรถแทรกเตอร์-SMART FARM นโยบายความเป็นส่วนตัว
รถแทรกเตอร์ ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ ติดต่อโฆษณา Advertise With Us
รถเกี่ยวนวดข้าว MOTOR SHOW / TRACTOR SHOW ติดต่อเรา Contact Us
รถจักรยานยนต์ ทัวร์ร้านค้ายานยนต์ทั่วไทย  
รถบิ๊กไบค์ รีวิว รถยนต์-รถอีวี  
เครื่องยนต์อเนกประสงค์ รีวิว รถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์  
Follow us
   
Copyright © 2000 - 2024  108Engine Dot Com All Rights Reserved
 
cheap air max|cheap air jordans|pompy wtryskowe|cheap huarache shoes| bombas inyeccion|cheap jordans|cheap sneakers|wholesale jordans|cheap china jordans|cheap wholesale jordans|cheap jordans|wholesale jewelry china