|
ขอบคุณ ไทยรัฐออนไลน์ (31 สิงหาคม 2023) [1888 Views]
|
มหินทรา แทรกเตอร์ ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อดูจากปริมาณ ครองส่วนแบ่ง 25% ของตลาดรถแทรกเตอร์ทั่วโลก และ 41% ในตลาดรถแทรกเตอร์ของอินเดีย เตรียมบุกทำตลาดในไทยต้นปี 2567 ไม่หวั่น คูโบต้า เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว เพราะมั่นใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีกว่าและราคาถูกกว่า พร้อมวางรากฐานอยู่ในไทยระยะยาว และใช้ประเทศไทยเป็นฐานสู่ตลาดอาเซียน
นายเหมันต์ ซิกก้า ประธานส่วนธุรกิจอุปกรณ์ฟาร์ม บริษัท มหินทรา&มหินทรา จำกัด ภายใต้ มหินทรา กรุ๊ป บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของประเทศอินเดีย ให้สัมภาษณ์พิเศษ นสพ.ไทยรัฐ ภายหลังการเปิดตัวรถแทรกเตอร์ใหม่ น้ำหนักเบาบนแพลตฟอร์ม OJA (โอจา) ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ว่า มหินทราได้เตรียมที่จะบุกทำการตลาดรถแทรกเตอร์ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นไป โดยมองว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากในอาเซียน เพราะทั้งอาเซียนมีการใช้รถแทรกเตอร์รวม 80,000 คัน ในจำนวนนี้อยู่ในไทย 50,000 คัน
ส่วนเหตุผลที่บริษัทเพิ่งตัดสินใจเข้ามาทำการตลาดในไทย ทั้งๆที่เป็นผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อดูจากปริมาณ และครองส่วนแบ่ง 25% ของตลาดรถแทรกเตอร์ทั่วโลก และ 41% ในตลาดรถแทรกเตอร์ของอินเดีย เพราะ ได้ทุ่มทุนในการทำวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เรียกกว่า OJA หรือโอจา คือ แพลตฟอร์มรถแทรกเตอร์น้ำหนักเบาที่ล้ำสมัยที่สุด โดยความร่วมมือระหว่างทีมวิศวกรของ Mahindra Research Valley ประเทศอินเดีย ศูนย์ R&D ของ Mahindra AFS และ Mitsubishi Mahindra Agriculture Machinery ประเทศญี่ปุ่น ด้วยงบลงทุน 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 5,075 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อดอลลาร์)
นวัตกรรมนำการเปลี่ยนแปลงในไทย
บนฐานนวัตกรรมที่เรียกว่า Three Tech nology Packs ประกอบด้วย MYOJA (ชุดอัจฉริยะ) ช่วยให้เกษตรกรสามารถ ควบคุมรถแทรกเตอร์ขั้นสูง ผ่านแอปพลิ เคชันในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับตำแหน่ง การใช้เชื้อเพลิง และสภาพของรถแทรกเตอร์, PROJA (ชุดเพิ่มผลิตภาพ) ให้การทำฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลผลิตที่ดีขึ้น และ ROBOJA (ชุดอัตโนมัติ) เป็นระบบอัตโนมัติขั้นสูง และแอปพลิเคชันอัจฉริยะเพื่อความแม่นยำ
รถแทรกเตอร์รุ่นใหม่ในกลุ่ม OJA นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการออกแบบและวิศวกรรมของรถแทรกเตอร์ 4 ล้อขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เหมาะสมกับการทำการเกษตรในประเทศไทย มี 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ แพลตฟอร์ม Sub Compact, Compact และ Small Utility รถแทรกเตอร์รุ่นใหม่เหล่านี้ ถือเป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมหินทรา และเป็นนิยามใหม่ของเครื่องจักรกลการเกษตร ทั่วโลก เพื่อเพิ่มผลผลิตในฟาร์ม ตอบสนองต่อความต้องการ และความพึงพอใจของเกษตรกรไทยได้
ตั้งสำนักงานจัดหาตัวแทนจำหน่าย
นายเหมันต์กล่าวว่า ระหว่างนี้ต้องทำงานอย่างหนัก ในประเทศไทย เช่น ตอนนี้เรากำลังดำเนินการจัดตั้งสำนักงานในประเทศไทย สร้างทีมและจัดหาตัวแทนจำหน่าย และมีตัวแทนจำหน่ายบางส่วนที่เข้าร่วมแล้ว และน่าจะสามารถรับสมัครตัวแทนจำหน่ายได้มากขึ้น เมื่อทุกอย่างลงตัวก็พร้อมเริ่มจำหน่ายสินค้าในทันที พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการโครงสร้างทางการเงิน เตรียมบุคลากร มั่นใจว่าในต้นปี 2567 จะเริ่มขายให้เกษตรไทยได้และยกระดับการทำฟาร์มในประเทศไทยไปอีกขั้น
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้คงยังไม่สามารถบอกเป้าหมายในทางปริมาณ หรือตัวเลขคาดการณ์ทางการตลาดได้ แต่มั่นใจว่า หากเริ่มต้นด้วย การสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง มีตัวแทนจำหน่ายที่ดี พร้อมเติบโตคู่ไปกับมหินทรา และสินค้าที่นำเสนอสู่ตลาดจะสามารถสร้างความพึงพอใจ ให้กับลูกค้าเกษตรกรไทยได้
ผมมั่นใจ 100% ว่ายอดปริมาณการขายจะเกิดขึ้น เราจะมีส่วนแบ่งทางการตลาด การเข้ามาในครั้งนี้ เราคาดหวังการลงทุนในระยะยาว เราไม่มีความตั้งใจที่จะเข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 5 ปี แต่เราตั้งใจที่จะครองใจคนไทย ในอีก 50 ปีข้างหน้า เมื่อเริ่มขายและมีคนรู้จัก ผลิตภัณฑ์มากขึ้นในตลาดเมืองไทย ได้ตั้งเป้าหมาย ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 5% ของ 50,000 คัน ซึ่งในตอนนี้ยังไม่ได้ขายรถแทรกเตอร์แม้แต่คันเดียว จึงไม่สามารถวางแผนระยะยาวได้
นายเหมันต์ ซิกก้า ประธานส่วนธุรกิจอุปกรณ์ฟาร์ม บริษัท มหินทรา&มหินทรา จำกัด
ปีแรกขอสร้างพื้นฐานที่ดีก่อน
ต่อข้อถามที่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคูโบต้าครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่อยู่ ทำไมมหินทราจึงเพิ่งตัดสินใจเข้ามาทำการตลาดในไทย นายเหมันต์กล่าวว่า เพราะเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ OJA ว่า จะตอบโจทย์เกษตรกรไทยได้ทั้งงานพืชและสวน ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก ข้าว ผัก ผลไม้ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ ที่สามารถทำงานได้ ทั้งบนดินแห้งและเปียก และเชื่อว่าผลิตภัณฑ์นี้มีโอกาสที่จะเปลี่ยนการทำฟาร์มในประเทศไทย
ในปีแรกคือการสร้างพื้นฐานที่ดีในการทำการตลาด มีผลิตภัณฑ์ที่ดี มีทีมงานที่ดี มีตัวแทนจำหน่ายที่ดี มีการเงินที่ดี และสร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรไทยก่อน เมื่อทำได้ปริมาณการขายจะเกิดขึ้น แน่นอนว่าคู่แข่งรายอื่นอยู่มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน จึงเป็นเหตุผล ที่ว่าทำไมเราถึงต้องใช้ระยะยาวเตรียมการนานมาก ในการจะลงทุน และทำตลาดในประเทศไทย
นายเหมันต์กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญมากของห่วงโซ่อาหารของโลก และรถแทรกเตอร์ 50,000 คันในไทย ไม่ใช่ตลาดเล็กๆเลย เกือบจะเท่ากับบราซิล ดังนั้น เมื่อมหินทราอยู่ในตลาดบราซิลอยู่แล้ว และที่นั่นมีโจทย์ที่ยากและใหญ่กว่า จึงมองว่าไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากที่ต้องเข้ามา ซึ่งถ้าได้เริ่มวางฐานทางการตลาดที่มั่นคงในไทย แล้วจะรุกเข้าสู่ตลาดอาเซียนต่อไป
เราสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีทัดเทียมคู่แข่ง มีการออกแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงต้นทุน และจากการที่มหินทราเป็นบริษัทรถแทรกเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยปริมาณ ดังนั้น เมื่อซื้อของ จากซัพพลายเออร์ จึงได้ราคาที่ถูกกว่า และแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้น สามารถสร้างโมเดลกี่รุ่นก็ได้บนแพลตฟอร์มเดียวกัน จึงมั่นใจมากว่าสามารถกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ของเราให้การแข่งขันได้.
|