ค่าย เชฟโรเลตคลอดเทรลเบลเซอร์ รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก ตัวแรกในบ้านเรา ทำให้ตลาดพีพีวีที่มีพื้นฐาน มาจากปิกอัพ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์จูนเนอร์, มิว-เซเว่น, ปาเจโร สปอร์ต คึกคักขึ้นมาทันตาเห็น เห็นตัวเป็น ๆ กันมาแล้วตั้งแต่งานมอเตอร์ เอ็กซ์โปปีที่แล้ว กวาดยอดจองไปเฉียด 1,000 คัน วันนี้เพิ่งได้ฤกษ์ส่งมอบ หลังกำลังการผลิตกลับคืนมาเต็ม 100%
สัปดาห์ ก่อนก็เพิ่งปล่อยให้ดีลเลอร์ไปทดลองขับกัน ปรากฏว่าชื่นชอบกันยกใหญ่ ออร์เดอร์ที่ประมาณการขายต่อเดือนสั่งเพิ่มเป็นเท่าตัว แค่นี้ก็พอเห็นภาพแล้วนะว่า "เจ๋ง" แค่ไหน ?
ส่วนผมเพิ่งมีโอกาส สัมผัสเมื่อสองวันก่อน เชฟโรเลตเขาจัดทริปให้ผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศทดสอบครับ ก็ไม่ซับซ้อนอะไรมาก เริ่มจากบอกที่ไปที่มาของรถ สโลแกนก็ตรงไปตรงมาคือ "ถ้าใจถึง...ก็ไปถึง" พยายามสรรหาให้เข้ากับบุคลิกของรถ พร้อมทั้งแนะนำพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ "เสี่ยโชค บูลกุล"
เสี่ยโชคบอกถึง สาเหตุที่รับเป็นพรีเซ็นเตอร์ว่า เขาชื่นชอบรถที่มีเปอร์ฟอร์แมนซ์ดี ๆ และที่สำคัญสุด ก็คือความปลอดภัย ซึ่งเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ตัวนี้มีครบทั้งในแบบถนนปกติและออฟโรด รถดี ๆ แบบนี้เหมาะที่จะใช้ในฟาร์มของเขา
ส่วนการทดสอบไหน ๆ ก็เลือกเสี่ยโชคแล้วนี่ ถ้าจะไม่ไปฟาร์มโชคชัยก็ผิดไปล่ะ
ทริปการทดสอบเที่ยวนี้เลยต้องเลือกเส้นทาง กทม.-ฟาร์มโชคชัย ส่วนที่พักก็เช่นเคย "เขาใหญ่" แน่นอน
สำหรับ จุดขายของเทรลเบลเซอร์อยากจะบอกว่ามีหลายจุดมากครับที่ผู้บริหารเขาภูมิใจนำ เสนอ เช่น ดีไซน์เบาะที่นั่งแบบพับเก็บได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่บรรจุสัมภาระสูงสุด
ขุมพลังดีเซลเทอร์โบ 4 สูบ ดูราแม็กซ์ ที่เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและความประหยัดน้ำมัน ทำงานราบรื่นไม่มีสะดุด และระบบความปลอดภัยที่เหนือกว่ารถในกลุ่มเดียวกัน เช่น อุปกรณ์ช่วยเบรกขณะลงเขา อุปกรณ์ป้องกันรถไหลขณะขึ้นเนิน และดิสเบรกทั้ง 4 ล้อ
เขาบอกว่าเทรลเบลเซอร์จะเป็นอาวุธหลักของเชฟโร เลตในการรุกตลาดรถอเนกประสงค์ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วน ที่ตัวผมเองชื่นชอบก็มีหลายจุด อาทิ ช่วงล่าง ซึ่งถ้ามีช่องให้กรอกคะแนน ผมให้เต็มไปเลย เยี่ยมจริง ๆ ถามเพื่อนผู้สื่อข่าวหลายคนแล้วครับ เห็นตรงกันเป๊ะ
กว่าจะออกมาได้เยี่ยมแบบนี้ วิศวกรของจีเอ็มเขาปรับค่าสปริง-โช้กอัพ จุดยึดต่าง ๆ กันหนักหนาสาหัสเลยทีเดียว
ถัดมาก็เป็นดีไซน์ซึ่งค่อนข้างลงตัว เส้นสายมองแล้วสวยสบายตา และที่โดนใจมากก็ตรงไฟท้ายแอลอีดีนี่แหละ
ส่วน เครื่องยนต์ผมว่าเครื่องตัวนี้ต้องพยายามขับให้มีรอบเครื่องยนต์ไว้นิด ๆ รับรองคุณได้เห็นพละกำลังของมันแน่นอน แต่ถ้าปล่อยให้รอบตกก็จะรู้สึกอึดอัดไม่ทันใจ
ตัวเครื่องยนต์ 2.8 ลิตรให้กำลังสูงถึง 180 แรงม้า แรงบิด 470 นิวตันเมตร ในขณะที่เครื่องยนต์รุ่น 2.5 ลิตรนั้นให้กำลัง 150 แรงม้า แรงบิด 350 นิวตันเมตร ถ่ายทอดกำลังผ่านเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ไม่มีพัดเดิลชิปปรับเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย มีแค่ทริปทรอนิกส์บวกลบที่คันเกียร์
เครื่องยนต์ดูราแม็กซ์ทั้ง 2 รุ่นมีส่วนประกอบที่ทนทาน และได้รับการออกแบบมาให้ ต้องเข้ารับการบำรุงรักษาเพียง 1 ครั้งทุก ๆ การขับขี่ 20,000 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นความถี่การบำรุงรักษาที่ต่ำที่สุดในรถระดับเดียวกัน
ที่ ไม่ชอบเลยอีกอย่างหนึ่งก็คือ พวงมาลัยครับ หนักไปนิด คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญ ซึ่งตรงนี้วิศวกรของจีเอ็มเขาอธิบายว่า คำนวณจากน้ำหนักบรรทุก 7 คน อย่าลืมว่ารถประเภทนี้ ไปกันทั้งครอบครัว จีเอ็มเขาให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ถ้าบรรทุกเต็ม น้ำหนักกดหลังเยอะ พวงมาลัยเบาโหวงเกินไปคงควบคุมรถลำบาก
ช่วงทดสอบผมนั่งไปกันแค่สองคนด้านหน้า ดังนั้นอาจจะรู้สึกตึงมือไปบ้าง
ส่วนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นก็มีมาให้ครบ ระบบปรับอากาศทำงานแบบแยกส่วน ติดตั้งบนหลังคาเพื่อเพิ่มความเย็นสบายให้ผู้โดยสารตอนหลัง ขณะที่ระบบเครื่องเสียงเพื่อความบันเทิงใช้
ระดับพรีเมี่ยม เติมเต็มความรื่นรมย์ตลอดการเดินทางทุกที่นั่ง
ใน รุ่นท็อปติดตั้งระบบอินโฟเทนเมนต์ (infotainment) สั่งงานผ่านหน้าจอสัมผัส ซึ่งไม่เพียงมีฟังก์ชั่นการใช้งานระบบวิทยุและเครื่องเสียงให้ความบันเทิง แล้ว ยังรองรับระบบนำทาง และเครื่องเล่นดีวีดีอีกด้วย นอกจากนี้ชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น ขอบกระจังหน้า มือจับประตู มือจับกระบะท้าย กระจกมองหลัง ไฟหน้า และกรอบไฟตัดหมอก ในบางรุ่นยังตกแต่งด้วยโครเมียมเพื่อเสริมให้หรูหราสะดุดตา
ภายใน ห้องโดยสารกว้างขวาง เบาะที่นั่ง 3 แถวสามารถพับเก็บให้แบนราบได้ สำหรับที่นั่งสองแถวหลังนั้นได้รับการออกแบบใหม่ให้มีความสูงมากขึ้น เขาเรียกว่าจัดวางตำแหน่งที่นั่งแบบโรงหนัง ทำให้ผู้โดยสารในแถวที่ 2 และแถวที่ 3 สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบตัวรถได้อย่างง่ายดาย
ทดสอบ ออนโรดกันเต็มเหนี่ยวแล้ว ทีนี้ก็มาถึงคิวออฟโรดกันบ้าง เจ้าหน้าที่จีเอ็มเขาจำลองสนาม ให้ได้ทดสอบกันอย่างครบถ้วน ทั้งโคลนหนาเตอะ ร่องลึก เนินสูง หลุมควายขนาดใหญ่ เอากันแบบชัด ๆ ว่าล้อหลังลอยสูงจากพื้นเป็นสิบ ๆ เซนติเมตร แต่เจ้าเทรลเบลเซอร์
ก็ผ่านไปอย่างง่ายดายที่ ชื่นชอบอีกอย่างก็คือ การประกอบตัวถังได้ใจจริง ๆ บิดตัวกันขนาดนั้นไม่มีส่งเสียงอ๊อดแอ๊ดให้ได้ยิน ผมว่าตรงนี้น่าจะเป็นไฮไลต์เลยทีเดียว
อีกระบบหนึ่งที่ไม่มีในรถ กลุ่มเดียวกันคือ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติเมื่อลงทางลาดชัน (HDC) หากตัวรถไหลลงด้วยความเร็วโดยที่ผู้ขับไม่ได้เหยียบคันเร่ง ระบบนี้จะสั่งการให้เบรกทำงานโดยอัตโนมัติ ให้ตัวรถช้าลงทันที
และ ระบบควบคุมป้องกันการไหลของรถเมื่อขึ้นทางลาดชัน (HSA) ระบบนี้จำเป็นมากโดยเฉพาะคุณผู้หญิงรถจะไม่ไหลถอยหลังเป็นระยะเวลา 2 วินาทีหลังจากปล่อยเบรก เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่เหยียบคันเร่งและออกตัวได้อย่างปลอดภัย
ส่วน ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ มีมาให้ครบถ้วน โดยเฉพาะระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ESC) ข้อมูลทุกอย่าจะถูกคำนวณ เช่น ลดกำลังเครื่องยนต์ ลดแรงดันน้ำมันเบรก เพื่อให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้อย่างมั่นคง ถ้ากดปุ่มนี้ไว้ไม่ต้องห่วงเรื่องการเข้าโค้ง จะหนักหนาหรือแรงเพียงใดระบบจะสร้างสมดุล อาการท้ายปัดหรือหน้าดื้อไม่มีให้เห็นแน่นอน ส่วนการเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนทั้งไฮและโลว์ ก็ทำงานเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส 2H เป็น 4H ไม่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าเป็น 4L ก็จอดรถให้สนิท ปลดเกียร์ว่างนิดหนึ่ง สะดวกครับ
อีกส่วนหนึ่งที่เทรลเบลเซอร์เด่นกว่ารถในกลุ่มเดียวกันก็คือ การลากจูง น้ำหนัก 3 ตัน ขนมเลยครับ
เทรลเบลเซอร์มีให้เลือก 7 สี จัดเป็นรถพีพีวีสำหรับครอบครัวที่ชื่นชอบการลุย สนนราคาค่าตัวแลกกับคุณค่าที่ได้ น่าลงทุนครับ
รุ่น 2.5 LT ขับเคลื่อนสองล้อ เกียร์ธรรมดา ราคา 1,059,000 บาท รุ่น 2.8 LT ขับเคลื่อนสองล้อ ราคา 1,249,000 บาท สี่ล้อ ราคา 1,299,000 บาท รุ่น 2.8 LTZ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ราคา 1,389,000 บาท และรุ่นท็อป 2.8 LTZ1 ขับเคลื่อนสี่ล้อ ราคา 1,489,000 บาท
ลองดูครับ ผมว่าหลายคนน่าจะชื่นชอบ
ข้อมูลเทคนิครถ : Chevrolet Trailblazer
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ [18878 Views]
|