• หน้าแรก
  • รุ่นรถยนต์/อีวี
  • รุ่นจักรยานยนต์
  • รุ่นรถแทรกเตอร์
  • รถเกี่ยวข้าว/Smart Farm
  • เครื่องยนต์อเนกประสงค์
  • ค้นหาผู้จำหน่าย
  • กระดานซื้อขาย/MotorShow
  • ข่าวเด่นรถยนต์Œ/รีวิวรถยนต์
  • ติดต่อโฆษณา

รอบรู้รถยนต์-รถอีวี ลำดับ : 204321

รอบรู้รถยนต์ | รอบรู้จักรยานยนต์ | รีวิวรถยนต์ | รีวิวรถกระบะ | รีวิวจักรยานยนต์

ข่าวรถยนต์-รถอีวี | ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ | ข่าวรถแทรกเตอร์-เกษตรอัจฉริยะ



วิธีใช้เกียร์ออโต้ อย่างปลอดภัย





กระหึ่มในวงกว้าง เมื่อนักแสดงชื่อดังถูกรถยนต์เกียร์อัตโนมัติถอยชนตาย โดยไม่พบผู้ขับ ท่ามกลางความค้างคาใจว่าเกียร์คาอยู่ที่ R ได้อย่างไร? คันเกียร์เลื่อนได้เอง หรือ เพราะอะไร? เกียร์อัตโนมัติน่ากลัวขนาดนั้นเชียวเหรอ?

อ่านวิธีใช้เกียร์อัตโนมัติอย่างปลอดภัย สั้นกระชับและตรงประเด็น บทความนี้ไม่ได้แนะนำถึงวีธีการใช้เกียร์ อัตโนมัติให้เต็มประสิทธิภาพ แต่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยเฉพาะ

ตำแหน่ง R ต้องตั้งใจเข้า
สำหรับรถยนต์รุ่นที่มีร่องคันเกียร์แนวตรงและมีปุ่มกดที่หัวเกียร์ การเข้าเกียร์ไปยังตำแหน่งเกียร์ถอย-R ทั้งจากเกียร์จอด-P หรือจากเกียร์ว่าง-N รถยนต์ทุกรุ่นที่เกียร์เป็นร่องตรง ต้องมีการกดปุ่มที่หัวเกียร์ และบางรุ่นต้องเหยียบเบรกพร้อมกับกดปุ่มที่หัวเกียร์ ถึงจะเลื่อนไปยังเกียร์ถอย-R ได้

หากไม่ทำเช่นนั้น จะไม่สามารถเลื่อนคันเกียร์ได้ เพราะมีสลักล็อกอยู่ แม้จะใช้ 2 มือดันสุดแรง ถ้าสลักไม่หัก ก็เลื่อนไม่ได้แน่ๆ ในกรณีของนักแสดงกับแลนเซอร์ ซีเดีย นี้เป็นหัวเกียร์แบบมีปุ่ม การเข้าเกียร์ถอย-R ต้องมีการกดปุ่ม เกียร์จะดีดเองจาก P หรือ N ไป R ไม่ได้

เกียร์คร่อมตำแหน่ง P-R หรือ N-R
การเลื่อนคันเกียร์ไปมาระหว่างแต่ละตำแหน่ง มีระยะห่างกันก็จริง แต่ก็น้อยมาก การคาคันเกียร์คร่อมอยู่ระหว่าง 2 ตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในกรณีของนักแสดงกับแลนเซอร์ ซีเดีย ที่หลายคนเดาว่า ก่อนลงจากรถยนต์ไปเปิดประตู มีการเข้าเกียร์คร่อมตำแหน่ง P-R หรือ N-R ไว้ แล้วพอมีแรงสะเทือนก็ทำให้เกียร์ดีดเข้า R รถยนต์ก็เลยไหลได้ มีโอกาสเกิดขึ้น น้อยมาก และถ้าจริงๆ แล้วคันเกียร์คร่อมตำ แหน่งอยู่ ก็ต้องถือว่าเป็นความผิดของคนไม่ใช่ รถยนต์ ดังนั้นไม่ว่าในช่วงสตาร์ทเครื่องยนต์หรือ จะทำอะไรก็ตาม ควรแน่ใจเสมอว่าคันเกียร์อยู่ ในล็อกของตำแหน่งที่ต้องการไม่คร่อมตำแหน่ง อยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะอย่างเกียร์ P ก็กดปุ่มแล้วดันไปข้างหน้าให้สุด, เกียร์ N ก็ไม่ต้องกดปุ่มแล้วดันไปข้างหน้าจะติด เพราะถ้าไม่กดปุ่มบนหัวเกียร์ ยังไงก็เลื่อนเลยไปถึง R ไม่ได้ หากคันเกียร์จะค้างคร่อมตำแหน่งอยู่ ก็เป็นความผิดของผู้ขับนั่นเอง เพราะทุกเกียร์ มีล็อกที่ชัดเจนอยู่แล้ว

กดปุ่มที่หัวเกียร์ เท่าที่จำเป็น
ควรศึกษาระบบการล็อกคันเกียร์ในรถยนต์ของตนเองว่า การเลื่อนจากตำแหน่งใดไปยังตำแหน่งอื่น ต้องกดหรือไม่ต้องกดปุ่ม ที่หัวเกียร์ แล้วจำให้ให้แม่นยำ เช่น จาก P หรือ N ไป R ต้องกดปุ่ม (หรือเท้าอาจต้องกดเบรกด้วย), จาก R ไป P หรือมา N, จาก N ไป-มากับ D ต้องกดปุ่มหรือไม่ ฯลฯ หากไม่ต้องกดปุ่มแล้วเลื่อนได้ ตลอดการขับก็ไม่ต้องกดปุ่ม โดยไม่ต้องกลัวว่าสลัก ล็อกจะสึกหรอ เพราะผู้ผลิตออกแบบให้ทำ ได้เช่นนั้นอยู่แล้ว โดยทั่วไปการเลื่อนคันเกียร์จาก N มา D ขับเคลื่อนเดินหน้า จะไม่ต้องกดปุ่ม เพราะผู้ผลิตต้องการให้สะดวก ดังนั้นก็ไม่ต้องกดปุ่ม เพราะถ้ากดปุ่ม จาก N มา D ก็อาจเลื่อนเลยลงมาเกียร์ต่ำกว่า D ได้ หรือกรณีจะผลักจาก D กลับไป N ก็อาจเลยไป R โดยไม่ตั้งใจได้ จำไว้ว่า ถ้าไม่ต้องกดปุ่มแล้วเลื่อนได้ ก็ ไม่ต้องกด ในกรณีของ N-D ถ้าไม่ต้องกดปุ่ม แล้วเลื่อนไป-มาได้ ก็ให้ระวังทั้งตนเองและผู้อื่นผลักคันเกียร์โดยไม่ตั้งใจ หากต้องจอดแล้วติดเครื่องยนต์ไว้ และต้องลงจากรถยนต์ โดยมีผู้อื่นอยู่ในรถยนต์ (โดยเฉพาะเด็กๆ) นอกจากควรดึงเบรกมือไว้และเข้าเกียร์ P ไว้ด้วย โดยไม่ควรเข้าเกียร์ N ไว้ เพราะอาจมีใครดันมาเป็นเกียร์ D ได้ ถ้าต้องกดปุ่ม นั่นก็คือ ต้องตั้งใจเข้าเกียร์ นั้นๆ ไม่ใช่การพลั้งเผลอ เพราะไม่มีทางที่จะเลื่อนโดยไม่กดปุ่ม โดยเฉพาะเกียร์ R อย่างในข่าว

อย่าไว้ใจเบรกมือ
เมื่อดึงเบรกมือจนสุด หากรถยนต์ปกติ การเข้าเกียร์ค้างไว้ที่ D หรือ R โดยไม่แตะคันเร่ง รถยนต์จะต้องไม่ไหล แต่ไม่มีความแน่ นอนว่าเมื่อไรจะไหล เช่น สายสลิงเบรกมือยืดตัว รอบกระตุกเพราะคอมเพรสเซอร์แอร์ตัด-ต่อการทำงาน แม้เมื่อดึงเบรกมือสุด จะมีแรงกดผ้าเบรกมาก แต่ก็แค่ 2 ล้อ และแรงกดนั้นน้อยกว่าการเหยียบเบรกอยู่มาก ดังนั้นจึงไม่ควรไว้ ใจเบรกมือ ควรคิดเสมอว่า แม้ดึงเบรกมือสุด แล้วรถยนต์ก็ยังอาจจะไหลได้ สามารถพิสูจน์ว่าเบรกมือไม่ได้มีการเบรกอย่างหนักแน่น ได้จากการที่หลายคนลืม ดึงเบรกมือค้างไว้ แล้วก็ยังขับรถยนต์ออกไปได้หลายกิโลเมตรหรือหลายสิบกิโลเมตร โดยที่รถยนต์ไม่ได้มีอัตราเร่งอืดจนแตกต่างจากปกติ นั่นคือ เบรกมือมีแรงเบรกพอสมควรเท่านั้น มิฉะนั้นคงไม่สามารถขับออกไปได้โดยหลายคนหลงลืม

จอดบนการจราจร มีผู้ขับ
หมายถึงกรณีที่ต้องจอดบนการจราจรชั่วคราว เช่น ติดไฟแดง การจราจรคับคั่ง อย่าสับสนกับกรณีของนักแสดงที่เสียชีวิต จนทำให้ตัวเรากลัวรถยนต์ไหลโดยเข้าเกียร์ P ในการจอดติดไฟแดง เพราะต่างรูปแบบกันเลย การจอดติดไฟแดง มีผู้ขับอยู่ตามปกติ หากจอดไม่นาน ควรแตะเบรกและค้างไว้เกียร์ D เพื่อไม่ให้เกียร์มีการสึกหรอจากการสลับไป มาระหว่าง N-D หรือถ้าจอดนานสักหน่อย จะค้างไว้ที่ D พร้อมดึงเบรกมือไว้ก็ได้ ไม่อันตราย
ไม่จำเป็นต้องเลื่อนเกียร์จาก D ผ่าน N R ผ่านไปยัง P เพราะขณะนั้นมีผู้ขับควบคุมอยู่ การเลื่อนไป P ต้องผ่าน R ไฟถอยหลังจะ สว่างขึ้นชั่วครู่ จะสร้างความสับสนผู้ที่ขับรถ ยนต์จอดอยู่ข้างหลัง เมื่อต้องออกตัวครั้งต่อไป ก็ขาดความฉับไว เพราะต้องเลื่อนผ่านหลายเกียร์และไฟถอยหลังก็จะสว่างวาบขึ้นอีกครั้ง หากจอดนานหลายนาที บนการจราจร เช่นติดไฟแดง สามารถปลดมาที่เกียร์ว่าง-N ส่วนจะแตะเบรกหรือดึงเบรกมือควบคู่กันก็ ตามสะดวก เพราะยังไงก็มีผู้ขับควบคุมอยู่ตาม ปกติ

ไม่ต้องห่วงรถยนต์มาก
รถยนต์ในไทยมีราคาแพง หลายคนจึงรักมาก ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ก็ไม่ควรรักมากเกินไป รถยนต์เป็นของนอกกาย ไม่ตายก็หาใหม่ได้ ในกรณีของนักแสดงนี้ ถ้าเสียชีวิตเพราะ มองเห็นรถยนต์ไหลแล้ว จึงพยายามดันรถ ยนต์จนตัวเองโดนเบียดเสียชีวิต ก็คงเป็นเรื่อง ที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ที่เสียชีวิตเพียงเพราะกลัวรถยนต์เสียหาย ในกรณีเกียร์ P ที่จะมีสลักหรือตัวล็อก ในชุดเกียร์ควบคุมไม่ให้รถยนต์ไหล และจะหักถ้ามีรถยนต์คันอื่นมาชนอย่างแรง ก็ไม่ต้อง กลัวมากว่าสลักนั้นจะพัง หากจอดไม่ขวางใคร เพราะการใส่เกียร์ P พร้อมเบรกมือ คือการป้องกันไม่ให้รถยนต์ไหลได้ดีที่สุด ดีกว่าใส่ เกียร์ N +พร้อมเบรกมือที่มีโอกาสเสี่ยงมากกว่า โดยเฉพาะรถยนต์รุ่นที่สามารถผลักจากเกียร์ N มา D ได้โดยไม่ต้องกดปุ่ม รถยนต์เสีย ซ่อมได้คนตายแล้วตายเลย

เพิ่มสัญญานเตือน เมื่อเข้าเกียร์ถอย-R
ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น สิ้นเปลือง หรือบางคนบอกว่าน่ารำคาญ แต่จริงๆ แล้วกลับสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ดี ค่าใช้จ่ายรวมติดตั้งตามร้านประดับยนต์ ไม่น่าเกิน 500 บาท หรือถ้าไปซื้อจากแถวบ้าน หม้อ ก็ราคาตัวละไม่เกิน 100 บาท นำมาติดตั้งพ่วงกับไฟถอยอย่างง่ายๆ ติดตั้งเองหรือจ้างร้านติดตั้งไม่น่าเกิน 200 บาท หากเสียงดังเกินไปและไม่มีปุ่มปรับ ก็ดัดแปลงไม่ยาก ใช้เทปโฟม 2 หน้าปิดทับรูที่เสียงผ่านออกมา จะให้ดังหรือเบาแค่ไหนตามชอบ ถ้ารำคาญก็ให้เสียงเบาหน่อย ถ้าอยากเตือนคนอื่นด้วยก็ปล่อยเสียงเต็มที่ ความน่ารำคาญเมื่อมีเสียงขณะถอยรถยนต์ ในอีกแง่มุมกลับสามารถเพิ่มความปลอดภัยได้

สรุป
จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรสลับซับซ้อนเลย เริ่มจากตรวจสอบว่ารถยนต์รุ่นที่ขับอยู่ สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้นอกเหนือจากที่เกียร์อยู่ P หรือ N ได้ไหม รวมถึงถ้าคร่อมอยู่กับ R หรือ D จะเป็นเช่นไร หากสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้ถือว่าผิดปกติ ต้องรีบซ่อมแซม ในการใช้งานจริง ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ ควรต้องแน่ใจว่าอยู่ที่เกียร์ P หรือ N ตรงล็อกจริงๆ ไม่คร่อมอยู่กับเกียร์อื่น ทดลองดูว่าเกียร์ใดบ้าง ต้องกดปุ่มที่หัวเกียร์ หรืออาจต้องเหยียบเบรกควบคู่กันด้วย ถึงจะเลื่อนเกียร์ได้ ก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าระบบออกแบบมาไม่ต้องกดก็เลื่อนได้ โดยเฉพาะที่พบบ่อยคือ ระหว่าง N-D4-D3 ก็ไม่ต้องกดปุ่ม เพราะอาจจะเลยไปยังเกียร์อื่นที่ไม่ต้องการ หากเกียร์ที่ต้องกดปุ่มแล้วถึงจะเลื่อนได้ เมื่อใช้งานไปนานๆ แล้วไม่ต้องกดปุ่ม ก็เลื่อนเกียร์ได้ ให้รีบซ่อมแซม

การจอดขณะติดเครื่องยนต์แล้วต้องการลงจากรถยนต์ นอกจากดึงเบรกมือให้สุดแล้ว ควรเข้าเกียร์ P ไว้ นอกจากจะป้องกันรถ ยนต์ไหลได้ดีแล้วยังไม่มีความเสี่ยงที่ใครจะผลักจากเกียร์ N มา D ไม่ต้องกลัวว่าเกียร์ P จะเสียหาย ใช้เมื่อจำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ใช้แต่ดึงเบรกมือกับเกียร์ว่าง-N เพราะยังไงก็แม่แน่นอนเท่า เกียร์ P พร้อมดึงเบรกมือจนสุด ไม่ควรเชื่อมั่นเบรกมือมากเกินไป ตามปกติแล้วหากเข้าเกียร์ขับเคลื่อนและปล่อยให้ เครื่องยนต์ทำงานรอบเดินเบา หากดึงเบรกมือ สุด รถยนต์จะต้องไม่ไหล ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็ควรปรับตั้ง หรือซ่อมระบบเบรกมือ แต่ก็ไม่ต้อง ชะล่าใจว่าจะเอาอยู่ ดังนั้นถ้าต้องจอดขณะติด เครื่องยนต์และไม่มีผู้ขับ ควรเข้าเกียร์ P ควบคู่กันด้วย ถ้าคิดว่าเสียงเตือนเมื่อเข้าเกียร์ถอย-R มีประโยชน์ ก็สามารถหาติดตั้งได้ในค่าใช้จ่ายไม่กี่ร้อยบาท เกียร์ AUTO ต้องถูกควบคุมด้วยคน ดังนั้นความปลอดภัยหลักก็อยู่ที่.....คน

    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์  



ความคิดเห็น



รถไฮบริด รถอีวี HEV-PHEV-BEV
รถไฮบริด-ปลั๊กอินไฮบริด-รถอีวี
รถอีวี100%(BEV)
ราคารถไฮบริด-ปลั๊กอินไฮบริด-รถอีวี
ราคารถอีวี100%(BEV)
ประเภทรถอีวี-รถไฟฟ้า
BYD ATTO 3 (2023)
รถอีโคคาร์ ECO CAR
รถอีโคคาร์
ราคารถอีโคคาร์
TOYOTA Yaris 2023
รถอเนกประสงค์ PPV CAR
รถอเนกประสงค์ พีพีวี
ราคารถอเนกประสงค์ พีพีวี
รถกระบะ PICKUP CAR
รถกระบะ 2ประตู รุ่นมาตรฐาน
รถกระบะ 2ประตู แค็บ 2WD
รถกระบะ 2ประตู แค็บ 4WD
รถกระบะ 4ประตู ดับเบิ้ลแค็บ 2WD
รถกระบะ 4ประตู ดับเบิ้ลแค็บ 4WD
จักรยานยนต์ MOTOCYCLE
จักรยานยนต์ ออโตเมติก(เอที) AT
จักรยานยนต์ ครอบครัว Family
จักรยานยนต์ สปอร์ต Sport
จักรยานยนต์ ออฟโรด Off Road

รอบรู้ รถยนต์
รถยนต์ค้างสต็อกหรือไม่ ดูตรงไหน
4ข้อ ควรรู้ก่อนขึ้น-ลงเขา
วิธีเข้าเกียร์ออโต้ระหว่างติดไฟแดง
ท่านั่งขับรถ ตำแหน่งการจับพวงมาลัย
วิธีใช้เกียร์ออโต้ อย่างปลอดภัย
รอบรู้ รถจักรยานยนต์
เป็นเจ้าของ Big Bike ค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
วิธีเลือกรถบิ๊กไบค์มือสอง
วิธีเลือกซื้อรถจักรยานยนต์มือสอง







หมวดยานยนต์-แทรกเตอร์ โปรโมชั่น-ข่าวเด่น-รีวิว 108เอ็นจินดอทคอม
รถอีวี /รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โปรโมชั่นรถยนต์ /รถแทรกเตอร์ /จักรยานยนต์ หน้าแรก108engine.com
รถอีโคคาร์ ข่าวรถยนต์-รถไฟฟ้า ข้อตกลงการใช้งาน
รถกระบะ-รถอเนกประสงค์ ข่าวรถแทรกเตอร์-SMART FARM นโยบายความเป็นส่วนตัว
รถแทรกเตอร์ ข่าวรถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์ ติดต่อโฆษณา Advertise With Us
รถเกี่ยวนวดข้าว MOTOR SHOW / TRACTOR SHOW ติดต่อเรา Contact Us
รถจักรยานยนต์ ทัวร์ร้านค้ายานยนต์ทั่วไทย  
รถบิ๊กไบค์ รีวิว รถยนต์-รถอีวี  
เครื่องยนต์อเนกประสงค์ รีวิว รถจักรยานยนต์-รถบิ๊กไบค์  
Follow us
   
Copyright © 2000 - 2024  108Engine Dot Com All Rights Reserved
 
cheap air max|cheap air jordans|pompy wtryskowe|cheap huarache shoes| bombas inyeccion|cheap jordans|cheap sneakers|wholesale jordans|cheap china jordans|cheap wholesale jordans|cheap jordans|wholesale jewelry china