ดูเหมือนว่าการขับรถกับการเบรกเป็นเรื่องง่าย แค่กดแป้นเบรค ทิ้งระยะห่างให้เหมาะสม แต่ในความเป็นจริง
มีสารพันเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการเบรคที่จะทำให้การขับรถปลอดภัยขึ้น
ถ้ามีเวลาเหลือควรเหลือบตามองรถคันที่ตามมาด้วยว่า
เขาน่าจะเบรคทันหรือไม่ ถ้าดูเหมือนจะไม่ทัน
เราก็เบรกเบานิดให้ชิดรถคันหน้าอีกหน่อยก็ยังดี
การถูกชนท้าย เราไม่ผิด แต่เสียเวลาและรถพัง การเบรค
ถ้ากดแป้นเบรคแต่เนิ่นๆ
ก็สามารถใช้ไฟเบรคเตือนผู้ขับรถคันตามมาได้
โดยแตะเบรคให้ไฟเบรคสว่างขึ้น
ถอนเท้าสักนิดให้ไฟเบรคดับแล้วกดซ้ำเพื่อให้ไฟเบรคกระพริบเป็นการกระตุ้นเตือน
การตรวจสอบไฟเบรค คนเดียว
ทำได้โดยจอดให้ท้ายรถชิดกำแพงตอนมืด กดแป้นเบรค
แค่นี้ก็ตรวจว่าหลอดไฟเบรคขาดหรือไม่
ด้วยตัวเองได้แล้ว
การติดตั้งระบบเสริมให้ไฟเบรกกระพริบได้
เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะจะสร้างความสับสนขึ้นได้
ไฟเบรกไม่ได้สว่างหรือกะพริบตามการกดแป้นเบรคจริงๆ
ในคราวคับขันกับการเบรคที่ได้ระยะทางสั้น และปลอดภัย คือ
เบรคจนล้อเกือบล็อก
(ถ้ามีเอบีเอสก็ต้องเบรคจนเอบีเอสเกือบทำงาน)
ทำได้โดยหัดทำบนถนนกว้างๆ และไม่มีรถคันอื่นใกล้ๆ (เอบีเอส
คือ ระบบเบรคป้องกันล้อล็อก
ดังนั้นในครั้งที่เบรคแล้วล้อไม่ล็อก
ก็ไม่เกี่ยวอะไรกัน)
ระบบจะทำงานเมื่อล้อเริ่มล็อก
โดยจะคลายการจับของผ้าเบรคแล้วกดซ้ำสลับกันถี่ๆ
หลายครั้งต่อ 1 วินาที และจะมีการสะท้อนถี่ๆ
ที่แป้นเบรคพร้อมกับอาจจะมีเสียงกึงกังถี่ๆ
ตามการจับ-ปล่อย ให้ได้ยิน จึงไม่ต้องตกใจ หากเอบีเอสทำงาน
เอบีเอสไม่ได้ทำให้รถเบรคดีหรือมีระยะเบรกสั้นลง
เพราะประสิทธิภาพการเบรคตามปกติ ที่ล้อไม่ล็อก
ต้องขึ้นอยู่กับระบบเบรคพื้นฐาน ไม่เกี่ยวกับเอบีเอสเลย
เอบีเอสจะช่วยเมื่อมีการเบรคกะทันหัน หรือบนถนนลื่นเท่านั้น
เพราะถ้าล้อล็อกขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง
จะทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัย รถจะไถลไปทางไหน
ก็ต้องไป โอกาสชนย่อมสูงครับ ถ้าเอบีเอสได้ทำงาน
ระยะเบรคอาจจะยาวขึ้นก็เป็นไปได้
เปรียบเทียบการทำงานของเอบีเอสแบบง่ายๆ
ว่าคนกำลังวิ่ง หากจะหยุดเร็วๆ แบบฉับพลัน ถ้าไม่มีเอบีเอสแล้วพื้นแห้ง
ก็เท่ากับหยุดซอยเท้าเกือบจะทันที
พื้นรองเท้าก็ครูดกับพื้นไปไม่ไกล
แต่ถ้าเป็นพื้นน้ำแข็งลื่นๆ การหยุดซอยเท้าในทันที
ตัวจะยังพุ่งไป ทั้งที่เท้าหยุดลงแล้ว
ก็จะลื่นไถลไปไกลแบบเคว้งคว้าง ถ้ามีเอบีเอส
ก็จะเหมือนมีการค่อยๆ ชะลอการซอยเท้าสักพักแล้วจึงหยุดนิ่ง
แม้จะหยุดบนน้ำแข็งก็จะไม่ปัดเป๋
แต่ถ้าจะหยุดพื้นเรียบและฝืด การชะลอการซอยเท้าให้ช้าลง ค่อยๆ ช้าลง
อาจใช้ระยะมากกว่าการหยุดทันทีและปล่อยให้พื้นรองเท้าครูดไปสั้นๆ
การขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ
เพราะช่วยได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น
การเบรคในสภาพถนนเมืองไทยกว่า 95%
เอบีเอสไม่ได้ทำงาน
แต่การที่มีเอบีเอส
ย่อมดีกว่าไม่มี ถ้ามีโอกาสเลือกซื้อรถที่มี
ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเอบีเอสไม่ได้ช่วยตอนเบรกแรงๆ
เท่านั้น เบรคเกือบแรง แต่ถนนลื่น
ล้อก็ล็อกและเอบีเอส ก็ช่วยได้ ถนนที่ลื่น
ไม่ได้เกิดจากฝนตกเท่านั้น ถ้ามีฝุ่นทรายมาก ถนนก็ลื่นได้
การป้องกันล้อล็อก ไม่ได้ช่วยเฉพาะถนนลื่นๆ
ตลอดทั้งพื้นเท่านั้น
แต่การลื่นเฉพาะล้อ
ไม่ครบทั้ง 4 ล้อ หากมีการเบรคแรงสักหน่อย
ล้อก็มีโอกาสล็อกเฉพาะในล้อที่ลื่น แล้วรถก็หมุน ! เช่น
การลงไหล่ทางเฉพาะ 2 ล้อด้านซ้าย ถ้าไม่มีเอบีเอส
แล้วกดเบรคแรงๆ รถจะปัดเป๋
เพราะล้อด้านซ้าย จะล็อกตัวหยุดหมุน เอบีเอส
ช่วยให้ล้อไม่ล็อก และช่วยไม่ให้รถปัดเป๋ได้
แต่ระยะเบรคอาจยาวได้ในบางกรณี
จึงควรเบรคพร้อมกับการหาทิศทางหักหลบ ถ้าจำเป็นต้องหลบ
ถ้าต้องเบรคแบบหนักๆ สำหรับรถที่มีเอบีเอส
ให้กดเบรคแช่ลงไปเลย เพราะการถอนเท้าเพื่อย้ำเบรคใหม่
เอบีเอสจะตัดการทำงาน และกว่าจะกลับมาทำงาน ก็อีกหลายเสี้ยววินาที
ถ้าไฟเตือนเอบีเอสไม่ยอมดับหลังการบิดกุญแจไว้ 3-5 วินาที หรือสว่างขึ้นขณะขับ
แสดงว่าว่าเอบีเอสมีความบกพร่อง ให้ทดลองเบรคบนถนนว่างๆ
ว่า น้ำหนักการกดแป้นเบรค และการเบรคยังปกติหรือไม่
ส่วนใหญ่แล้วการที่เอบีเอสบกพร่องจะเป็นแค่ไม่มีการป้องกันล้อล็อก แต่ระบบเบรคพื้นฐานยังใช้งานได้
เป็นเสมือนเป็นรถที่ไม่มีเอบีเอส แต่ยังมีเบรค สามารถขับต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
และนำรถไปซ่อมเอบีเอสต่อไป
การมองไปข้างหน้ากับการเบรคเกี่ยวข้องกัน
ยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไปข้างหน้าในจุดที่ไกลขึ้น
เพราะระยะเบรกจะยาวขึ้น
ไม่ใช่เพราะความเร็วที่มากจะทำให้เบรคต้องทำงานหนักขึ้น
แต่เป็นเพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป
รถได้ผ่านระยะทางมากขึ้นเรื่อย
เราใช้หน่วยการวัดที่คุ้นเคย เป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง
จึงไม่ค่อยรู้ว่าความเร็วที่ใช้นั้นเร็วขนาดไหน
เพราะชั่วโมงดูแล้วนานต้องเทียบเป็นวินาที
เปรียบเทียบเป็นหน่วยเมตร/วินาที
จะชัดเจนกว่า ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากับ 28 เมตร/ 1 วินาที ถ้านึกว่า 28 เมตรไกลแค่ไหนไม่ออก
นึกถึงสนามฟุตบอลตามยาว จากเสาประตูหนึ่งไปยังอีกฟาก
เท่ากับ 100 เมตร 100 กม./ชม. = 28 เมตร/วินาที 1
สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่าน 3 วินาทีกว่าๆ
เท่านั้นที่ความเร็ว 150 กม./ชม. = 42 เมตร/วินาที 1
สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2.5
วินาทีเท่านั้นที่ความเร็ว 200 กม./ชม. = 56 เมตร/วินาที 1
สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2 วินาทีเท่านั้นระยะทาง / วินาทีที่รถแล่นได้
นอกจากจะโยงไปถึงเรื่องการเบรก ยังอยากจะบอกว่าเวลาขับรถเร็วนั้นๆ และอันตรายขนาดไหน ถ้า
150 กม./ชม. ใช้เวลา 1 วินาทีกับระยะทาง 42 เมตร
สมมุติว่าเราเห็นสิ่งกีดขวางแล้วต้องเบรก
หากการตอบสนองของสมองและเท้าขวา
ต้องใช้เวลากว่าจะเริ่ม กดแป้นเบรคครึ่งวินาที
ก็เท่ากับว่ารถแล่นไปอีก 21 เมตรแล้ว
ทั้งที่เบรกยังไม่ได้ทำงาน
นี่ยังไม่นับว่าผ้าเบรค จะใช้เวลาและระยะทางอีกกี่วินาทีในการหยุด
สมมุติต้องใช้ระยะเบรคอีก 30 เมตร ก็รวมเป็น 51
เมตรตั้งแต่ตาเริ่มเห็น
ดังนั้นยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไกล
นั่นก็เป็นที่มาของการมองทะลุกระจกรถคันหน้าด้วย
เพราะจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ล่วงหน้า
การกดแป้นเบรกนับตั้งแต่เริ่มมองเห็น
คนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 0.3-0.5
วินาที
รถที่ไม่มีเอบีเอสกับการเบรกบนถนนลื่น
หรือเบรกกะทันหัน ก็ต้องเบรกไม่แรงจนล้อล็อก
ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าทำได้ ก็จะดี คือ ตั้งสติ
เบรคลงไป ถ้าล้อล็อกก็ให้ถอนแป้นเบรกแล้วกดซ้ำๆ
หรือเรียกว่าย้ำเบรก
ซึ่งยังไงก็ไม่มีความถี่เท่ากับเอบีเอสที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
แต่ก็ยังดีกว่าตะลึงแล้วกดเบรกแช่
เพราะอย่างนั้นล้อจะล็อกหรือรถอาจปัดเป๋
ถ้าว่างก็หาถนนโล่งกว้าง
กดเบรคแล้วดูว่ารถที่ขับนั้นกดเบรค แรงแค่ไหนล้อถึงจะเริ่มล็อก
ทำซ้ำๆ จนจำแรงกดได้ นั่น คือการเบรกที่ดี
การเบรกเพื่อลดความเร็ว คำแนะนำการเบรกที่ง่ายและถูกต้อง
แต่อาจจะขัดกับความรู้และการปฏิบัติดั้งเดิมของหลายคน
ว่าการเบรกที่ดีต้องเชนจ์เกียร์ แต่ปฏิบัติง่าย คือ
เบรคเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ต่ำ
หรือพูดแสลงว่า ไม่ต้องเชนจ์เกียร์ช่วย
เพราะระบบเบรคก็ทำงานได้เพียงพออยู่แล้ว
ในหลักการขับรถอย่างปลอดภัยในต่างประเทศแห่งหนึ่ง
บอกว่า BRAKE TO SLOW / GEAR
TO GO แปลตรงตัว เบรคเพื่อให้ช้า
จะไปต่อก็ด้วยเกียร์ที่เหมาะสม
การลดเกียร์ต่ำเพื่อใช้เอนจิ้นเบรก
หรือใช้เครื่องยนต์ช่วงหน่วงบนทางเรียบ
มีประโยชน์น้อยมากและไม่จำเป็นต้องทำ
เพราะจะทำให้เสียสมาธิการกดเบรก
ระบบเกียร์และเครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้น
แต่ช่วยในการเบรคได้นิดเดียว สามารถทดลองทำดูว่า
ถ้าขับรถอยู่ที่เกียร์สูงแล้วลดเกียร์ต่ำลงอย่างเดียว
รถจะถูกหน่วงความเร็วลงน้อยมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับการกดเบรคอย่างเดียว
ที่ทำให้แทบจะหยุดกึ๊กเลย
การเบรคพร้อมกับการเชนจ์เกียร์ช่วยเบรก
นอกจากแทบจะเปล่าประโยชน์ตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว
ยังทำให้รถมีการถ่ายน้ำหนักหน้า-หลังไป-มา
แบบกระดกไปกระดกมาอีกด้วย เบรค มีไว้เพื่อหยุดหรือชะลอ
โดยไม่ต้องใช้เกียร์ช่วย ในรถเกียร์ธรรมดา
หากจะลดเกียร์ต่ำ
ก็เพื่อเตรียมปล่อยคลัตช์เมื่อเลิกเบรกแล้วจะเร่งต่อแล้ว
ไม่ใช้การลดเกียร์เพื่อช่วยเบรคในการขับปกติ
การเบรคเพื่อจอด
ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์เลยครับ
ก่อนจอดค้างอยู่เกียร์ไหนก็เกียร์นั้น ในรถเกียร์ธรรมดา
แนะนำให้เบรคโดยไม่ต้องยุ่งกับการเชนจ์เกียร์และไม่ต้องแตะคลัตช์
เมื่อรถเกือบหยุดสนิทแล้วค่อยเริ่ม เหยียบคลัตช์ลงไปและเหยียบให้สุด
เมื่อหยุดแล้วค่อยปลดเป็นเกียร์ว่าง
นอกจากการเชนจ์เกียร์ต่ำ จะไม่ค่อยได้ประโยชน์แล้ว
การเหยียบคลัตช์ลงไปพร้อมๆ กับการเบรค
ก็เป็นเสมือนการปลดเกียร์ว่างแล้วเบรก
ซึ่งจะทำให้รถไม่มีแรงหน่วงจากเครื่องยนต์
เหยียบเบรกเพื่อจอด ก็เบรคอย่างเดียว
เมื่อจะจอดสนิทก็ค่อยเหยียบคลัตช์
ส่วนรถเกียร์อัตโนมัติกับการเบรกเพื่อจอดก็คล้ายกัน
เบรกอย่างเดียวไม่ต้องยุ่งกับ การลดเกียร์ใดๆ และก็ไม่ควรปลดเป็นเกียร์ว่าง
เพราะนอกจากรถจะมีแรงเฉื่อยมากขึ้นแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อเกียร์
หากรถยังไม่หยุดสนิทแล้วต้องผลักกลับมาที่เกียร์ D-เดินหน้า
ชุดคลัตช์ในเกียร์จะ ทำงานหนักกว่า การออกตัวจาก จุดหยุดนิ่ง การเบรกพร้อมกับการเปลี่ยนเลน หรือเปลี่ยนเลนเสร็จแล้วเบรกทันที
อันตรายต่อท้ายรถของคุณ
เทคนิคการเบรกอย่างปลอดภัย ไม่ยุ่งยากถ้าเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
|